วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561

ประวัติผู้พาเลาะ



ายดำรงค์  ทัแสง
ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 
องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี

ปัจจุบันกำลังศึกษา ระดับปริญญาเอก สาขาวัฒนธรรมศาสตร์  
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

วันจันทร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2560

จิตรกรรมฝาผนังวัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

















ประวัติวัดบุ่งขี้เหล็กที่มีการบันทึกไว้ เป็นสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 7 ไร่ หนังสือสําคัญสําหรับที่ดิน คือ น.ส.3 อาคารเสนาสนะประกอบด้วยมหาวิหารและอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2546 สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 หอเจ้าแม่กวนอิม สร้างปี 2548 เจดีย์ศรีอริยะเมตตรัย ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย จำนวน 56 องค์ เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเรียงกันอย่างสวยงาม อาศัยการร่วมแรงร่วมใจช่วยกันคนละไม้ละมือจากชาวบ้านบุ่งขี้เหล็กและผู้เลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร
วัดบุ่งขี้เหล็ก ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของหมู่บ้านบุ่งขี้เหล็ก ประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2543 เดิม ชื่อวันสังวรวนาราม อยู่ห่างจากอําเภอเขมราฐไปทางอําเภอโขงเจียมประมาณ 13 กิโลเมตร ภายหลังหลวงปู่จันทร์หอมได้มาสร้างและบูรณะใหม่ และให้ชื่อว่า วัดบุ่งขี้เหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2550 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือรูปที่ 1 พระครูสุนทรพัฒโนดม (จันทร์หอม สุภาทโร) ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2543 วัดนี้เคยได้รับเกียรติบัตรรางวัลเป็นวัดที่มีความสะอาดดีมากตามโครงการ "อุบลเมืองสะอาด ราชธานีอีสาน" ประจำปี 2553 
พระครูสุนทรพัฒโนดม หรือ หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร พระคณาจารย์ผู้สืบสานวิทยาคมจากพระเถราจารย์แห่งราชอาณาจักรลาว ศิษย์ยุคสุดท้าย สมเด็จลุน แห่งประเทศลาว
หลวงปู่จันทร์หอม เกิดเมื่อเดือน 5 ปีมะโรง พ.ศ. 2459 ที่บ้านนาเอือด อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีการจดบันทึกวันเดือนเกิด ทางคณะศิษย์จึงขอให้วันที่ 1 มีนาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิด เพื่อร่วมแสดงมุทิตาจิตต่อท่าน ท่านเป็นคนไทยแท้ เกิดที่เมืองไทย แต่ไปโตที่ประเทศลาว เพราะครอบครัวย้ายถิ่นฐานไปทำมาหากินที่นั่น จนได้มีโอกาสร่ำเรียนวิชากับปรมาจารย์ใหญ่ อย่าง "สำเร็จลุน" ผ่านทาง "สำเร็จตัน" พระสังฆราชแห่งราชอาณาจักรลาวองค์ต่อจากสมเด็จลุน 
หลวงปู่จันทร์หอม ดำริสร้างมหาเจดีย์ขึ้นเพื่อสืบพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่บ้านคู่เมือง ให้ชื่อว่า "เจดีย์ศรีอริยะเมตตรัยมีรูปทรงที่แปลกตาไม่เหมือนกับเจดีย์ที่พบเห็นทั่วไป  มีความสูงจากพื้น 97 เมตร ทาผนังด้ายนอกด้วยสีทอง ตั้งโดดเด่นอยู่กลางวัด มหาเจดีย์นี้สร้างสำเร็จภายในระยะเวลาเพียง 1 ปี 4 เดือน
มหาเจดีย์จะแบ่งเป็น 6 ชั้น เปรียบดั่งสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น ทุกชั้นจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ดังนี้
1.ชั้นจาตุมหาราชิกา (สวรรค์ชั้นที่ 1) เป็นที่อยู่ของท้าวมหาราช 4 พระองค์ปกครอง มีอายุ 500 ปีทิพย์ หรือ 9 ล้านปีมนุษย์ อยู่เมืองมนุษย์ทำแต่ความดี ชักชวนคนอื่นทำบุญทำทาน
2.ชั้นดาวดึง (สวรรค์ชั้นที่ 2) เป็นเมืองใหญ่ มีพระธาตุเกศแก้วจุฬามณี พระอินทร์ปกครอง มีอายุ 1,000 ปีทิพย์ หรือ 36 ล้านปีมนุษย์ อยู่เมืองมนุษย์มีจิตใจดี ให้ทาน รักษาศีล ไม่ดูหมิ่นชาติตระกูล
3.ชั้นยามา (สวรรค์ชั้นที่ 3) มีท้าวสยามเทวาธิราชเป็นผู้ปกครอง มีอายุ 2,000 ปีทิพย์ หรือ 144 ล้านปีมนุษย์ อยู่เมืองมนุษย์เป็นผู้นำพาคนอื่นบำเพ็ญกุศล รักษาศีล ภาวนาไม่เคยขาด
4.ชั้นดุสิต (สวรรค์ชั้น 4) มีท้าวสันดุสิตเทวราชปกครอง มีอายุ 4,000 ปีทิพย์ หรือ 576 ล้านปีมนุษย์ อยู่เมืองมนุษย์ เป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ ทรงศีล ทรงธรรม ชอบฟังพระธรรมเทศนา
5.ชั้นนิมมานรตีภูมิ (สวรรค์ชั้นที่ 5) มีท้าวสุนิมมิตเทวราชปกครอง มีอายุ 8,000 ปีทิพย์ หรือ 2,304 ล้านปีมนุษย์ อยู่เมืองมนุษย์ประพฤติปฏิบัติธรรมสม่ำเสมอ มีใจสมบูรณ์ด้วยศีล
6.ชั้นปรนิมมิตสวัสดี (สรรค์ชั้นที่ 6) มีท้าวปรนิมมิตสวัสดีและท้าวปรมินมิตสวัสดีมาราธิราชเป็นผู้ปกครอง มีอายุ 16,000 ปีทิพย์ หรือ 9,216 ล้านปีมนุษย์ อยู่เมืองมนุษย์ก่อสร้างกองการกุศลให้ยิ่งใหญ่ อบรมจิตใจให้สูงขึ้น มีคุณธรรม จิตเลื่อมใสในการให้ทานรักษาศีล
และชั้นบนยอดมหาเจดีย์ก็จะเป็นที่ประดิษฐานมณฑปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้ญาติโยมพุทธศาสนิกชนเข้าไปนมัสการกราบไหว้ขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นมงคลชีวิตแก่ตนเองและครอบครัว

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จิตรกรรมฝาผนังวัดศรีคุนเมือง

















วัดศรีคุณเมือง 
                วัดศรีคุณเมือง  มีประวัติความเป็นมายาวนาน น่าศึกษายิ่ง เป็นวัดเก่าแก่ร้างขึ้นพร้อมกับการตั้งบ้าน ตั้งเมืองเชียงคานหลายชั่วคราวคนแล้ว และเป็น ที่พำนักของพระเถระผู้ใหญ่ในอดีต ประชาชนจึงได้กล่าวขานว่า วัดใหญ่จากตำนานและหลักฐานหลายสิ่งหลายอย่างได้พบว่า พระยาอนุพินาถและภรรยาพร้อมทั้งบุตรธิดาวงศาคณาญาติ มีท้าวพระยาแม่น เป็นต้น ได้สร้างพระอุโบสถ กับพระพุทธรูปไว้เพื่อเป็นพระพุทธบูชาที่วัดศรีคุณเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2380 (จ.ศ. 1199)
วัดศรีคุณเมืองว่าจากเจ้าอาวาส การปกครองวัด ก็มีพระพรรษาอ่อน ๆ (น้อย) ไม่ค่อยจะมั่นคง เจ้าคณะตำบลเชียงคาน เขต 1 ได้ดูแลรักษาตามหน้าที่มาโดยลำดับ เมื่อ พ.ศ. 2527 พณ.ฯ ท่านพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ได้นำผ้ากฐินมาทอดแล้วมอบจตุปัจจัยถวายไว้วัดศรีคุณเมือง เพื่อปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่ชำรุดเป็นเงินทั้งสิ้น 350,000 บาท ทางเจ้าอาวาส ผู้รักษาการอยู่ในขณะนั้นจึงได้ชักชวนทายกทายิกาทำการ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ โดยเปลี่ยนหลังคากระเบื้องซิเมนต์ออก เป็นกระเบื้องดินเผาเคลือบสีแทน สำเร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2528 พลเอกสมคิด จงพยุหะ พร้อมด้วยอาจารย์น้อมฤดี ศรีภรรยาได้นำเงินจำนวน 14,500 บาท มาถวายวัดศรีคุณเมือง เพื่อเป็นทุนสำรองในการบูรณะวัดพร้อมทั้งชาวเชียงคานก็ได้บริจาคสมทบด้วยตามกำลังศรัทธา
ปี 2532 เกิดวาตภัยอย่างร้ายแรง ส่งผลให้หลังคาพระอุโบสถว่างเปล่า พายุหอบเอาดินกระเบื้องออกไปหมด ค่าเสียหายมากพอสมควร ต่อมาพระเณรภายในวัดศรีคุณเมืองตลอดทั้งญาติโยม ช่วยกันเก็บเอากระเบื้องดินเผาที่ยังไม่เสียหายพอจะมุงได้มามุงหลังคาอีกและไปสั่งกระเบื้องใหม่มาเพิ่มเติมอีกจนพอ ขณะนั้นมีพระบุญเลิศรักษาวัดเป็นเจ้าอาวาสชั่วคราว จ้างคนมุงหลังคาพระอุโบสถ แต่การปฏิบัติมุงหลังคาไม่ถูกต้องตามหลักการประกอบกับไม้ส่วนบนผุพังยุบหมดสภาพไปตามกาลเวลาหลังคาพระอุโบสถจึงการรั่วไหลในเวลาฝนตก ไม่เหมาะสม ที่จะประกอบสังฆกรรมของสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฤดูฝน (ฝนตกมาก ๆ ) หากปล่อยไว้เนิ่นนานไป หลังคา ตลอดทั้งเพดานส่วนที่เป็นไม้ก็จะเสียหายมากขึ้น ทั้งจะเป็นความเสียหายต่อศาสนสมบัติที่เก็บรักษาไว้ในพระอุโบสถซึ่งบางชิ้นได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณวัตถุศิลปวัตถุของชาติ คือ
                1.
ธรรมาสน์ไม้สักแกะสลักลายประดับกระจกสี
                2.
พระพุทธรูปยืนชนิดไม้ทาน้ำทอง
                3.
พระพุทธรูปปางประธานอภัยชนิดไม้ทาน้ำทอง
                4.
ศิลาจารึกชนิดหิน
         
ทั้ง 4 อย่างนี้ เป็นโบราณวัตถุศิลปะล้านช้างที่มีอายุพุทธศตวรรษที่ 23 – 24 ทั้งหมดนี้เก็บรักษาไว้ที่พระอุโบสถวัดศรีคุณเมือง
               
                เมื่อ พ.ศ. 2533 พระครูสิริกัลยาณวัตร รองเจ้าคณะอำเภอเชียงคาน ได้มาดำรงตำแห่ง เจ้าอาวาสวัดศรีคุณเมือง จึงได้ปรารภที่จะ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถที่กำลังทรุดโทรมใช้การไม่ได้ให้คงสภาพเดิม โดยอนุรักษ์ส่วนที่มีคุณค่าทางศิลปะให้คงอยู่ตลอดชั่วกลนาน ปี 2533 ก็มีกฐินจากกรุงเทพฯ นำโดย พันจ่าไชยยัน ได้จตุปัจจัย ร่วมสองหมื่นบาท (20,000) บาท พ.ศ. 2534 คุณโยมทองคำ ขำหรุ่น ก็ได้นำกฐินมาทอดวัดศรีคุณเมือง รวมจตุปัจจัยไว้ให้ทางวัดเพื่อบำรุงปฏิสังขรณ์จำนวนเงิน 150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ฉะนั้น ทางเจ้าอาวาสและทายกทายิกาคุ้มวัดศรีคุณเมืองจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ เพื่อปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ในส่วนข้างบนหลังคาอุโบสถก่อน จึงได้นายช่างสาคร คงพูลเพิ่ม จังหวัดกาฬสินธุ์ มาทำการปฏิสังขรณ์ เริ่มลงมือปฏิบัติงาน เดือน มกราคม 2535 เดือน มีนาคม ก็สำเร็จเรียบร้อย เป็นขั้นตอนที่ 1 ทางวัดศรีคุณเมืองก็ได้อาศัยปัจจัยที่รวบรวมมาจากที่ต่าง ๆ

ผ้าทอมือชนเผ่าไทดำ



















หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน
        จากคำบอกเล่าของพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านนาป่าหนาด ทำให้ทราบว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2460 ชาวบ้านได้พากันอพยพมาตั้งบ้านเรือน อยู่ ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งเมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ แรกๆนั้นเรียกชื่อว่า บ้านนาป่าติ้ว และต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อ บ้านนาป่าหนาด เพราะบริเวณนี้มีต้นหนาดขึ้นมากมายนั่นเอง
          นอกจากนี้แล้วยังมีไม้อีกมากมายหลายชนิด เช่นไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เต็งรัง ไม้เปือย และยังมีสัตว์ป่านานาชนิดชุกชุม มีแหล่งน้ำธรรมชาติอีก 2 แห่ง คือ ลำน้ำฮวย และลำน้ำห้วยป่าติ้ว ซึ่งเป็นลำน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์น้ำมากมาย ที่ใช้เป็นอาหารให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ชาวบ้านในแถบนี้จะนิยมปลูกข้าวไร่กัน จึงไม่ค่อยมีนาข้าวให้เห็นมากนัก แต่เมื่อชาวไทดำ ได้อพยพเข้มาอาศัยในบริเวณนี้ ก็ได้พากันทำนาปลูกข้าว ชาวบ้านดั้งเดิมในแถบนนี้ จึงได้ปลูกข้าวในนา เหมือนชาวไทดำ สืบเรื่อยมา จนปัจจุบัน
          หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวัฒนธรรมไทดำ ซึ่งแรกเริ่มเดิมที่มีสมาชิก 50 คน และตั้งเป็นกองทุนรวบรวมเงิน 100 บาท ต่อคนต่อปี เพื่อแก้ปัญหาความยากจน และสร้างความสามัคคี
          โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านวัฒนธรรมไท-ดำ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
          บ้านนาป่าหนาด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2539 โดย ผอ.เพชรตะบอง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเชียงคาน ร่วมกับชาวบ้านนาป่าหนาด ในการเริ่มก่อสร้าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ข้อมูลด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต รวมทั้งข้อมูลด้านประวัติความเป็นมาของชาวไทดำบ้านนาป่าหนาด
          โดยหมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำบ้านนาป่าหนาด เป็นหมู่บ้านสาธิตความเป็นชนชาติไทดำทั้งหมด เช่นกิจกรรม การดำเนินชีวิต วิถีชีวิต ซึ่งจะทำให้แขกผู้เข้ามาเยี่ยมเยือน ได้ชมได้เห็นภาพที่เป็นวิถีชีวิตจริง
          การสร้างบ้านเรือนของหมู่บ้านนาป่าหนาด จะตั้งเรียงรายไปตามถนนภายในหมู่บ้าน (ถนนสายหลักคือ บ้านนาบอน-บ้านสงเปือย) ผ่านกลางหมู่บ้านและจะตัดเป็นซอยในแนวเดียวกัน จำนวน 10 ซอย ในปัจจุบันบ้านนาป่าหนาด แบ่งการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 12 (คุ้มเหนือ) และหมู่ 4 (คุ้มใต้)

มีอาณาเขตติดกับ หมู่บ้านต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ         จรด    บ้านวังอาบช้าง
ทิศใต้            จรด    บ้านหินตั้ง
ทิศตะวันออก   จรด    บ้านตาดซ้อ
ทิศตะวันตก     จรด    บ้านนาเบน
กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าไทดำ ผ้าทอมือบ้านนาป่าหนาด
          นอกเหนือจากการนำเสนอ ด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมอันโดดเด่นแล้ว ชนเผ่าไทดำบ้านนาป่าหนาด ยังมีการทดำผ้าฝ้ายทอมือ อันขึ้นชื่อที่เป็นมรดกจากภูมิปัญญา ที่มีฝีมือการทอที่เป็นเลิศ ด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมของลูกค้ามาอย่างยาวนาน
          คุณแม่สำลาน กรมทอง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ย้อนอดีตให้ฟังว่า ระหว่างการนำผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ ไปจัดแสดงในงานอุตสาหกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานนานาชาติ (EPIF 2016) ที่ไบเทคบางนา ระหว่างวันที่ 8-11 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา
          ผ้าฝ้ายทอมือ ของกลุ่มทอผ้าไทดำ นั้น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมทางภูมิปัญญา ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน ในทุกวันนี้ คนในชุมชนส่วนใหญ่ มีรายได้หลักจากการทอฝ้ายขาย ซึ่งจะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ซึ่งในอดีตจะทำกันพอใช้ในครอบครัวเท่านั้น จนกระทั่ง วันที่ 13 มีนาคม 2543 ได้เริ่มก่อตั้ง และรวมกลุ่มกันขึ้นภายใต้ชื่อกลุ่ม “กลุ่มทอผ้าไทดำบ้านนาป่าหนาด”
          ในระยะต่อจากการรวมกลุ่มกันทำ ผ้าทอมือก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าหน่วยงานจากทางราชการก็เข้ามาช่วยดูแล ผลักดันให้เป็นสินค้าประจำอำเอและจังหวัด เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ช่วยเหลือด้านการออกแบบกรมพัฒนาชุมชน ก็ดูแลช่วยเหลือด้านการตลาด นอกจากนั้นแล้วมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ก็เข้ามาช่วยเรื่องงานวิจัยด้านคงความเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์

          จุดเด่นสำหรับผลิตภัณฑ์ คือเป็นฝ้าย 100% ซึ่งเป็นการผลิตจากการทอมือแบบดั้งเดิมที่มีความละเอียดปราณีตงดงาม มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น ลายโบกเต่า ลายดอกน้ำเต่า ลายตัวนกในปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 21 คน ซึ่งจะมีอายุรุ่นคุณย่า คุณยาย ทั้งหมด หากไม่มีการอนุรักษ์ไว้ อนาคตอาจจะสูญหายลงได้



ประว้ัติเมืองเลย


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมืองเลย

ประวัติเมืองเลย

ได้ชื่อว่า "เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม" มีหลักฐานเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาว่า ก่อตั้งโดยชนเผ่า ไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษ ที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง (เชื่อถือกันว่าเป็นเชื้อ สายราชวงศ์สิงหนวัติ) ได้มีผู้คนอพยพจากอาณาจักรโยนก ที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนลานช้างข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่ง ขวาของลำน้ำหมัน ถึงบริเวณที่ราบพ่อขุนผาเมืองได้ตั้ง บ้าน ด่านขวา (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณชายเนินนาด่านขวา ซึ่งมีซากวัด เก่าอยู่ในแปลงนาของเอกชน ระหว่างหมู่บ้านหัวแหลมกับหมู่บ้านนาเบี้ย อำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย ) ส่วนพ่อขุนบางกลาง หาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้ายสร้างบ้านด่านซ้าย (สันนิษฐาน ว่าอยู่ในบริเวณหมู่บ้านเก่า อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ในปัจจุบัน) ต่อมาจึงได้อพยพเลื่อนขึ้นไปตามลำน้ำ ไปสร้างบ้านหนองคู และได้นำนามหมู่บ้านด่านซ้าย มาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่เป็น " เมืองด่านซ้าย " อพยพไปอยู่ที่เมืองบางยาง ในที่สุดโดยมีพ่อขุนผาเมืองอพยพผู้คนติดตามไปตั้งเมืองราด (เชื่อว่าเป็นเมืองศรีเทพ อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ และอำเภอ วิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์) และตั้งเมืองด่านซ้ายเป็นเมืองหน้าด่านทางตะวันออกของเมืองบางยางนอกจากนี้แล้ว ยังมีชาวโยนกอีกกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือน ระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขตลานนาไทย
ต่อแดนลานช้างอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงคราม ข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น (สันนิษฐานว่าอยู่ในท้องที่ หมู่บ้านทรายขาว ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย) จากหลักฐานในสมุดข่อยที่มีการค้นพบเมืองเซไล อยู่ด้วยความ สงบร่วมเย็นมา จนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เ กิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฝนฟ้าไม่ตก จึงได้พาผู้คนอพยพ ไปตามลำแม่น้ำเซไล ถึงบริเวณที่ราบระหว่างปากลำห้วยไหลตกแม่เซไล จึงได้ตั้งบ้านเรือนขึ้นขนานนามว่า " บ้านแห่ "(บ้านแฮ่) ส่วนลำห้วยให้ชื่อว่า "ห้วยหมาน"ในปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็ดพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งห้วยน้ำหมาน และอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมือง เพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งเป็นเมืองเรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า "เมืองเลย"ต่อมา พ.ศ. 2440 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลย ออกเป็น4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมืองเรียกชื่อว่า "อำเภอกุดป่อง" ต่อมา พ.ศ. 2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็น "บริเวณลำน้ำเลย"พ.ศ. 2449 - 2540 เปลี่ยนชื่อบริเวณลำน้ำเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และใน พ.ศ. 2450 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหือง ให้คงเหลือไว้เฉพาะ "เมืองเลย" โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็นอำเภอเมืองเลย

เขตการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 14 อำเภอ
อำเภอเมืองเลย
อำเภอท่าลี่
อำเภอนาด้วง
อำเภอวังสะพุง
อำเภอเชียงคาน
อำเภอภูกระดึง
อำเภอปากชม
อำเภอภูหลวง
อำเภอด่านซ้าย
อำเภอผาขาว
อำเภอนาแห้ว
อำเภอเอราวัณ
อำเภอภูเรือ
อำเภอหนองหิน
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดเลย มีภูเขาล้อมรอบตัวเมือง ลักษณะเป็นแอ่งกระทะสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย ประมาณ 250 เมตร ณ สถานีอุตุนิยมวิทยา ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศออกเป็น 3 เขต ดังนี้คือ
1. เขตภูเขาสูง ทางด้านทิศตะวันตกทั้งหมด เริ่มตั้งแต่อำเภอภูกระดึงขึ้นไปอำเภอภูหลวง อำเภอภูเรือ อำเภอท่าลี่ และเขตอำเภอด่านซ้ายและอำเภอนาแห้วทั้งหมด มีความสูงตั้งแต่เฉลี่ย 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล
2. เขตที่ราบเชิงเขา ได้แก่ บริเวณตอนใต้และตะวันออกของจังหวัด ได้แก่ อำเภอนาด้วง อำเภอปากชม และพื้นที่บางส่วนในเขตอำเภอภูกระดึงและกิ่งอำเภอภูหลวงเป็นเขตที่ไม่ค่อยมี ภูเขาสูงนัก มีที่ราบเชิงเขาพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ มีประชาชนหนาแน่นปานกลาง
3. เขตที่ราบลุ่ม มีพื้นที่น้อยมากในตอนกลางของจังหวัดคือ ลุ่มน้ำเลย ลุ่มน้ำโขง ได้แก่ บริเวณอำเภอวังสะพุง อำเภอเมือง อำเภอเชียงคาน เป็นเขตที่ทำการเกษตรได้ดี มีประชากรหนาแน่นมากกว่าเขตอื่น
 อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ แขวงไซยะบูลีและแขวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีแม่น้ำโขงไหลกั้นพรมแดนระหว่างกัน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดหนองบัวลำภู
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดเพชรบูรณ์

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดพิษณุโลก

วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

จิตรกรรมฝาผนัง วัดบุพพราชสโมสร




















      วัดบุพพราชสโมสร  เดิมชื่อ วัดศรีมงคลชาวบ้านเรียกวัดกลางตั้งอยู่เลขที่ 170 บ้านบึงกาฬ ถนนชาญสินธุ์ หมู่ 1 ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยคุณตาดวง ได้ชื้อที่ดินในราคา 5 บาท แบ่งที่ดินส่วนหนึ่งสร้างเป็นวัด มีเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 44 ตาราวา นายแดงและนางคำป้อง(บุตรสาวคุณตาดวง) ได้รวบรวมปัจจัยและแรงงานชาวบ้านร่วมสร้างพระอุโบสถ โดยใช้ยางบกผสมทรายและปูนขาว และได้ถวายปัจจัยในการสร้างพระประธานประดิษฐานในพระอุโบสถเป็นจำนวนเงิน 700 บาท แล้วเสร็จในปี 2468
ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดบุพราชสโมสรอาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง กุฏิสงฆ์ จำนวน 3 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และตึก 2 หลัง ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย 3 องค์ ปัจจุบันมีพระครูอุทัยวรคุณเป็น เจ้าอาวาส นอกจากเป็นวัดศูนย์กลางของพุทธศาสนิกชนได้มาปฏิบัติธรรม ทำบุญและกิจกรรมทางศาสนาของชาวบึงกาฬแล้ว ภายในวัดยังมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ.2518 และมีหอสมุดอีกด้วย

           หลวงพ่อวัดกลาง เป็นพระพุทธรูปโบราณศิลปะล้านช้าง องค์พระก่ออิฐถือปูน มีหน้าตักกว้าง 59 นิ้ว เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่ชาวบึงกาฬเคารพเลื่อมใสมาก โดยมีความเชื่อว่าจะประสบความเจริญก้าวหน้าในการงาน และแคล้วคลาดปลอดภัย




OTOP เพื่อการท่องเที่ยวบ้านอาฮง










หมู่บ้านโอทอป เพื่อการท่องเที่ยว
บ้านอาฮง ตำบลไคสี
ผู้ใหญ่บ้านเทิดศักดิ์ กงระหัด
เล่าให้ฟังว่า...
          ชาวบ้านองฮง เป็นกลุ่มชนลาวพวนที่อพยพโยกย้ายข้ามโขงมาจากบ้านนาเยีย เมืองหอ เมืองโฮง แถบบ้านสองคน บ้านกล้วย เมืองหมก เมืองเชียงแสนและเมืองต่างๆ ในตำบลแม่น้ำโขง และลำน้ำซัน แขวงบริคำไชย ประเทศลาว ในปัจจุบัน
          เมื่อประมาณ  ปี พ.ศ. 2377 ครอบครัวของท้าวคำพา ลูกชายของเจ้าเมืองหมอก (ประเทศลาว) ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานบริเวณแก่งอาฮง ติดกับปากห้วยอาฮงในปัจจุบัน เพราะเห็นว่าบริเวณนี้มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำ มีปลาชุกชุม และมีพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตร และเลี้ยงสัตว์ ทั้งปลูกพืชผัก ทำไร่ ทำนา ทำสวน ต่อมาก็มีญาติพี่น้องอพยพตามกันมาเรื่อยๆ และตั้งชื่อหมู่บ้านตามแหล่งที่เคยอยู่เดิม คือ ภูโฮง
          ชาวบ้านอาฮง ประกอบอาชีพสำคัญ คือ การทำสวนยางพารา และการทำนา พื้นที่ปลูกยางพารา คิดเป็น 95% ของพื้นที่ในหมู่บ้านทั้งหมด นอกจากนั้นแล้ว ก็ทำอาชีพประมงควบคู่ไปด้วย
กลุ่มอาชีพ
        1.กลุ่มอาชีพทอเสื่อจากหญ้า ฮังกา (คล้ายต้นกก) ขึ้นตามหนองบึง
          2.กลุ่มอาชีพผลิตกระเป๋า หมวก และเครื่องใช้
          3.กลุ่มอาชีพผลิตและแปรรูปอาหาร

To Be Continued  Coming Soon