วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ผ้าทอมือชนเผ่าไทดำ



















หมู่บ้านวัฒนธรรมบ้านไทดำ บ้านนาป่าหนาด อำเภอเชียงคาน
        จากคำบอกเล่าของพ่อแม่ ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านนาป่าหนาด ทำให้ทราบว่า เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2460 ชาวบ้านได้พากันอพยพมาตั้งบ้านเรือน อยู่ ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งเมื่อก่อนบริเวณนี้เป็นป่าไม้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ แรกๆนั้นเรียกชื่อว่า บ้านนาป่าติ้ว และต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อ บ้านนาป่าหนาด เพราะบริเวณนี้มีต้นหนาดขึ้นมากมายนั่นเอง
          นอกจากนี้แล้วยังมีไม้อีกมากมายหลายชนิด เช่นไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เต็งรัง ไม้เปือย และยังมีสัตว์ป่านานาชนิดชุกชุม มีแหล่งน้ำธรรมชาติอีก 2 แห่ง คือ ลำน้ำฮวย และลำน้ำห้วยป่าติ้ว ซึ่งเป็นลำน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์น้ำมากมาย ที่ใช้เป็นอาหารให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี ชาวบ้านในแถบนี้จะนิยมปลูกข้าวไร่กัน จึงไม่ค่อยมีนาข้าวให้เห็นมากนัก แต่เมื่อชาวไทดำ ได้อพยพเข้มาอาศัยในบริเวณนี้ ก็ได้พากันทำนาปลูกข้าว ชาวบ้านดั้งเดิมในแถบนนี้ จึงได้ปลูกข้าวในนา เหมือนชาวไทดำ สืบเรื่อยมา จนปัจจุบัน
          หมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำ มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวัฒนธรรมไทดำ ซึ่งแรกเริ่มเดิมที่มีสมาชิก 50 คน และตั้งเป็นกองทุนรวบรวมเงิน 100 บาท ต่อคนต่อปี เพื่อแก้ปัญหาความยากจน และสร้างความสามัคคี
          โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านวัฒนธรรมไท-ดำ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
          บ้านนาป่าหนาด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2539 โดย ผอ.เพชรตะบอง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเชียงคาน ร่วมกับชาวบ้านนาป่าหนาด ในการเริ่มก่อสร้าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และเผยแพร่ข้อมูลด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต รวมทั้งข้อมูลด้านประวัติความเป็นมาของชาวไทดำบ้านนาป่าหนาด
          โดยหมู่บ้านวัฒนธรรมไทดำบ้านนาป่าหนาด เป็นหมู่บ้านสาธิตความเป็นชนชาติไทดำทั้งหมด เช่นกิจกรรม การดำเนินชีวิต วิถีชีวิต ซึ่งจะทำให้แขกผู้เข้ามาเยี่ยมเยือน ได้ชมได้เห็นภาพที่เป็นวิถีชีวิตจริง
          การสร้างบ้านเรือนของหมู่บ้านนาป่าหนาด จะตั้งเรียงรายไปตามถนนภายในหมู่บ้าน (ถนนสายหลักคือ บ้านนาบอน-บ้านสงเปือย) ผ่านกลางหมู่บ้านและจะตัดเป็นซอยในแนวเดียวกัน จำนวน 10 ซอย ในปัจจุบันบ้านนาป่าหนาด แบ่งการปกครองออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 12 (คุ้มเหนือ) และหมู่ 4 (คุ้มใต้)

มีอาณาเขตติดกับ หมู่บ้านต่างๆ ดังนี้
ทิศเหนือ         จรด    บ้านวังอาบช้าง
ทิศใต้            จรด    บ้านหินตั้ง
ทิศตะวันออก   จรด    บ้านตาดซ้อ
ทิศตะวันตก     จรด    บ้านนาเบน
กลุ่มภูมิปัญญาชนเผ่าไทดำ ผ้าทอมือบ้านนาป่าหนาด
          นอกเหนือจากการนำเสนอ ด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมอันโดดเด่นแล้ว ชนเผ่าไทดำบ้านนาป่าหนาด ยังมีการทดำผ้าฝ้ายทอมือ อันขึ้นชื่อที่เป็นมรดกจากภูมิปัญญา ที่มีฝีมือการทอที่เป็นเลิศ ด้วยลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมของลูกค้ามาอย่างยาวนาน
          คุณแม่สำลาน กรมทอง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ย้อนอดีตให้ฟังว่า ระหว่างการนำผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ ไปจัดแสดงในงานอุตสาหกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงานนานาชาติ (EPIF 2016) ที่ไบเทคบางนา ระหว่างวันที่ 8-11 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา
          ผ้าฝ้ายทอมือ ของกลุ่มทอผ้าไทดำ นั้น เป็นมรดกทางวัฒนธรรมทางภูมิปัญญา ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน ในทุกวันนี้ คนในชุมชนส่วนใหญ่ มีรายได้หลักจากการทอฝ้ายขาย ซึ่งจะมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ซึ่งในอดีตจะทำกันพอใช้ในครอบครัวเท่านั้น จนกระทั่ง วันที่ 13 มีนาคม 2543 ได้เริ่มก่อตั้ง และรวมกลุ่มกันขึ้นภายใต้ชื่อกลุ่ม “กลุ่มทอผ้าไทดำบ้านนาป่าหนาด”
          ในระยะต่อจากการรวมกลุ่มกันทำ ผ้าทอมือก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าหน่วยงานจากทางราชการก็เข้ามาช่วยดูแล ผลักดันให้เป็นสินค้าประจำอำเอและจังหวัด เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ช่วยเหลือด้านการออกแบบกรมพัฒนาชุมชน ก็ดูแลช่วยเหลือด้านการตลาด นอกจากนั้นแล้วมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย ก็เข้ามาช่วยเรื่องงานวิจัยด้านคงความเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์

          จุดเด่นสำหรับผลิตภัณฑ์ คือเป็นฝ้าย 100% ซึ่งเป็นการผลิตจากการทอมือแบบดั้งเดิมที่มีความละเอียดปราณีตงดงาม มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น ลายโบกเต่า ลายดอกน้ำเต่า ลายตัวนกในปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 21 คน ซึ่งจะมีอายุรุ่นคุณย่า คุณยาย ทั้งหมด หากไม่มีการอนุรักษ์ไว้ อนาคตอาจจะสูญหายลงได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น