วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560

เลาะลำโขงที่นครพนม


ประวัติจังหวัดนครพนม

จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัด ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง อดีตเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง แรกทีเดียวตัวเมืองตั้งอยู่ทางฝั่งซ้าย ของลำน้ำโขง (ฝั่งลาว) บริเวณทางใต้ปากเซบั้งไฟ ตรงข้ามกับอำเภอพระธาตุพนมในปัจจุบัน ตามอุรังคนิทานหรือตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร) ของพระธรรมราชานุวัตรอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้เรียบเรียงไว้ตอนหนึ่งว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาโปรดสัตว์ที่แคว้นศรีโคตรบูรณ์ มีพุทธทำนายว่าเมื่อพระองค์ปรินิพพานไปแล้วเมืองศรีโคตรบูรณ์จักย้ายไปตั้งที่ ป่าไม้รวกมีนามว่า เมืองมรุกขนครซึ่งสันนิษฐานกันว่าหมายถึง เมืองที่อยู่ในดงไม้รวก ตามสภาพภูมิประเทศที่สร้างบ้านแปงเมืองนั้นเองประมาณ พ.ศ.500 สมัยพญาสุมิตรธรรม ผู้ครองเมืองมรุกขนคร เป็นกษัตริย์ผู้มีจิตศัรทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า มีการบูรณะพระธาตุพนมขึ้นเป็นครั้งแรก โดยก่อพระลานอูบมุง ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 แล้วสร้างกำแพงล้อมรอบมีงานฉลองสมโภชอย่างมโหฬาร ซึ่งพระอุรังคธาตุได้แสดงปาฎิหารย์อัศจรรย์ยิ่ง ทำให้พญาสุมิตรธรรมบังเกิดความปิติโสมนัสมาก นอกจากถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังมอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง 7 แห่งในเขตแดนนั้น เป็นผู้ดูแลรักษาองค์พระธาตุ หลังจากพญาสุมิตรธรรม มีผู้ครองนครต่อมาอีก 2 พระองค์ ก็เกิดเหตุอาเพศแก่อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ จนกลายเป็นเมืองร้าง กระทั่งถึง พ.ศ.1800 เจ้าศรีโคตรบูรณ์ได้สร้างเมืองมรุกขนครขึ้นใหม่ใต้เมืองท่าแขกบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ใน พ.ศ. 2057 สมัยพระเจ้านครหลวงพิชิตทศพิศราชธานีศรีโคตรบูรณ์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองใหม่กลายเป็น เมืองศรีโคตรบรูณ์ ตรงตามชื่ออาณาจักรเดิม ในสมัยนี้ยังมีการบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุพนมเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2280 พระธรรมราชาเจ้าเมืองศรีโคตรบูรณ์องค์สุดท้าย ได้ย้ายเมืองมาตั้งบนฝั่งขวา (ฝั่งไทย) เยื้องเมืองเก่าไปทางเหนือแล้วขนานนามเมืองใหม่ว่า เมืองนคร จากนั้นมีการโยกย้ายชุมชนเมืองอีกหลายครั้ง พ.ศ.2321 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีการย้ายเมืองมาตั้งที่บ้านหนองจันทร์ ห่างขึ้นไปทางเหนือ 52 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2333 รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองนครก็ได้ขอขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร โดยพระองค์ทรงพระราชทานนามใหม่ขึ้นว่า นครพนม ชื่อนครพนมนั้น มีข้อสันนิษฐานประการหนึ่งว่า เมืองนครเคยเป็นเมืองลูกหลวงมาก่อน และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จึงได้ใช้ชื่อว่า นคร ส่วนคำว่า พนม ก็มาจากพระธาตุพนม ปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน หรืออีกนัยหนึ่งคือ เดิมเมืองมรุกขนครตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในบริเวณที่มีภูเขาสลับซับซ้อน จึงนำคำว่า พนม ซึ่งแปลว่าภูเขามาใช้ นครพนม จึงหมายความถึง เมืองแห่งภูเขา นั้นเอง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พระธาตุพนม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พญาศรีสัตตนาคราช

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จวนผู้ว่านครพนม

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สะพานแม่น้ําโขง แห่งที่๓

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บ้านลุงโฮ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บ้านลุงโฮ














วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หมู่บ้านไทกวน ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

























วัฒนธรรมอันโดดเด่นของชาวนครพนม  บ้านนาถ่อนทุ่ง
ต.นาถ่อน
อ.ธาตุพนม  จ.นครพนม
วัฒนธรรมชนเผ่าไทยกวน (บ้านนาถ่อนทุ่ง)
          จากคำบอกเล่า คุณลุงประสิทธิ์ พิมพา รองประธานสภาวัฒนธรรม ต.นาถ่อน และคุณวรรณภา ปราณีนิตย์ ผู้ช่วยเลขานุการสภาฯ
          กล่าวว่า ชนเผ่าไทยกวนมีประวัติความเป็นมา จากแคว้นสิบสองจุไทย ซึ่ง “ขุนบรม” เป็นผู้ก่อตั้งเมืองแกง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ตั้งเมืองนาน้อยอ้อนหนู ปู่แสนบาง นางแสนเก้า (เมืองแกง) และในยุคนั้นเกิดทุพพิกภัย (ยุคข้าวยากหมากแพง) จึงได้รวบรวมไพร่พลอพยพมาทางตอนใต้ อาศัยอยู่ตามลำน้ำเซน้อย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ในลำน้ำนานาประเภท และภูมิศาสตร์เป็นที่ราบระหว่างหุบเขาหลายๆลูกชาวบ้านจึงเรียกว่า “กวน”
          กวน จึงหมายถึง พื้นที่ ที่แวดล้อมด้วยหุบเขา ณ บริเวณแห่งนั้น จึงได้ตั้งเมืองหลวง ป่งลิง/ปุงลิง มีเมืองผานั่ง วัดคำ อยู่ริมฝั่งน้ำเซน้อย (เซบั้งไฟ) ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขงตรงข้ามกับอำเภอธาตุพนม
          เมืองหลวงป่งลิง/ปุงลิง เป็นชาวเมืองซึ่งมาจากเมืองนาน้อย อ้อนหนู ปู่แสนบาง นางแสนเก้า (ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าไทยกวน) มีการปกครองแบบชาวอีสาน-โบราณ คือ มีเจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงศ์ราชบุตรเป็นผู้ปกครอง มีความเป็นอิสระปกครองกันมาหลายชั่วอายุคน ผู้ปกครององค์สุดท้าย ปรากฏชื่อ ท้าวไชยทรงยศ (ต้นตระกูลยศประสงค์)
          หลังจากชนเผ่าไทยกวนได้มาอยู่ดินแดนมรุกขรนคร พร้อมบรรบุรุษแล้วก็ได้ตั้งถิ่นฐานตามริมแม่น้ำฮวก ที่เรียกว่า บ้านฮ้างขัวกกตาล กลุ่มบุคคลกลุ่มนี้มีญาติจากเมืองปุงลิง ผาบัง วังคำ มีแม่เฒ่าศรีสองเมือง เป็นหัวหน้าหมู่บ้านทุ่งนาใน (บ้านฮ้างกกตาล) ในฤดูแล้ง ขาดแคลนน้ำ จึงได้ย้ายไปอยู่บ้านหัวดงนานอก (บ้านช้างยามเพียง)ทางไปบ้านดงยอ (ในปัจจุบัน)
          นานอก คือ ทุ่งใหญ่
          นาใน คือ ทุ่งตะวันออก
ต่อมาได้เกิดโรคระบาดหนัก จึงย้ายมาอยู่บ้านนาถ่อนทุ่ง คือ บ้านดงไม้ถ่อน (ในปัจจุบัน)
          ตำบลนาถ่อน ประเทศเมื่อปี พ.ศ.2384 ปะกอบด้วยบ้านนาถ่อนท่า นาถ่อนทุ่ง บ้านหัวขัว บ้านโพนบก บ้านดงยอ บ้านดงก้อม บ้านดงป่ายูง บ้านหนองหญ้าม้า บ้านหนองบัวโค้ง
          -กำนัน คนแรก คือ ท่าวไชยทรงยศ (2483)
          -กำนันคนปัจจุบัน คือ นายสมควร สุทันต์ (2555)
          -นายก อบต. คือ นายเรือน นันชนะ (2555)
          -ประธานสภาวัฒนธรรม คือ นายไพจิตร ไชยคราม (2555)
          -สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ ศาลเจ้าปู่ตาแสง
          -ชาวบ้าน นับถือผี และศาสนาพุทธ

คำขวัญตำบลนาถ่อน
          “ถิ่นเหล็กกล้าพร้าดี ผ้ามัดหมี่กี่กระตุก สนุกกับการเล่นพื้นเมือง รุ่งเรืองการพัฒนา สูงค่าประเพณีที่เด่นชัด ด้านวัฒนธรรมนำชุมชน”

คติประจำเผ่า “พอเสร็จหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก
ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก

วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2560

จิตรกรรมฝาผนัง

จิตรกรรมฝาผนัง(สิม)วัดโพธิ์คำ ตำบลน้ำก่ำ

อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม


















จิตรกรรมฝาผนัง  วัดโพธิ์คำ (บ้านน้ำก่ำ ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม)
วัดโพธิ์คำ
     เป็นวัดเก่าแก่เกิดขึ้นมาพร้อมกับบ้านน้ำก่ำ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2418 แต่สิมวัดสร้างเสร็จในปี พ.ศ.
2476 โดยช่างชาวญวน เป็นสิมแบบก่อผนังหันหน้าออกสู่แม่น้ำโขง
     ด้านหน้า : มีประตู 1 ช่อง ทางขึ้นบันได และราวบันไดทำเป็นตัวนาคทั้งสองด้าน
     ด้านข้าง : มีหน้าต่างด้านละ 2 บาน และเสริมด้วยหน้าต่างช่องลมมีลูกกรงของผนังด้านหน้าที่
ข้างประตูทางเข้า
     หน้าบัน : มีรูปปูนปั้นเป็นลวดลายเครือเถา กึ่งกลางมีภาพปูนปั้นพระพุทธรูป จะระบายสีเฉพาะ
องค์พระพุทธรูป และตัวลาย
     ภายในสิม เป็นรูปแต้มพุทธประวัติ สุริยวงศ์ พระมาลัย พระป่าเลไลย์ รามเกียรติ์ โดยช่างแต้ม
ชื่อ คุณพ่อลี ชะปราณ และนายบุญปัน ซึ่งเป็นน้องชาย ใช้เวลาในการวาด /แต้ม ประมาณ ปีเศษๆ
     ลักษณะของฮูปแต้ม : มองดูคล้ายกับว่าช่างแต้ม ได้แต้มภาพลงบนผืนผ้า พระเวส 2 ผืนยาว (ต่อ
กันทางแนวยาว) โดยดึงผืนผ้าส่วนบนให้ถึงบนสุดของฝาผนัง (ติดเพดาน) และปลายผ้าส่วนล่างทิ้งตัวลงมาถึงกึ่งกลางของช่องหน้าต่าง
     ผืนผ้าทั้งสองที่เรียงต่อกันตามแนวยาวนั้น จะมีกรอบหรือถบคั่นกลาง แถบบน และแถบล่างสุด
     กรอบลายบนสุด       จะเป็นลายเครือ
     กรอบกลาง     จะเป็นลายเปลว
     กรอบล่าง       จะเป็นลายลูกพักก้ามปู
          จากภาพรวมแล้ว ฮูปแต้มฝาผนังวัดโพธิ์คำ  มีพื้นที่ว่างจำนวนไม่น้อยผิดกับสิมอื่นทั่วไปที่มีฮูปแต้มจากช่างหลวงส่วนกลาง ซึ่งเนื้อที่ของภาพจะเริ่มตั้งแต่ขอบด้านล่างของหน้าต่างไล่ขึ้นไปทางด้านบนจรดส่วนเหนือสุดของผนัง ที่เชื่อมต่อกับเพดาน

          บรรยากาศของฮูปแต้ม จะมีความโปร่งใด สุกสว่าง สะอาด ฉากหลัง พื้นภาพที่เปรียบเสมือนกับผืนผ้าที่ขาวโปร่งใส ปรากฏภาพของตัวละคร ซ้อนประสานกลมกลืนกันไปกับฉากหลัง เป็นฮูปแต้มที่ตัวละคร มิได้ลอยโดดเด่นอย่างโจ่งแจ้ง รุนแรง เหมือนกับภาพจิตรกรรมฝาผนังส่วนกลาง สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์