วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

หมู่บ้านไทกวน ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

























วัฒนธรรมอันโดดเด่นของชาวนครพนม  บ้านนาถ่อนทุ่ง
ต.นาถ่อน
อ.ธาตุพนม  จ.นครพนม
วัฒนธรรมชนเผ่าไทยกวน (บ้านนาถ่อนทุ่ง)
          จากคำบอกเล่า คุณลุงประสิทธิ์ พิมพา รองประธานสภาวัฒนธรรม ต.นาถ่อน และคุณวรรณภา ปราณีนิตย์ ผู้ช่วยเลขานุการสภาฯ
          กล่าวว่า ชนเผ่าไทยกวนมีประวัติความเป็นมา จากแคว้นสิบสองจุไทย ซึ่ง “ขุนบรม” เป็นผู้ก่อตั้งเมืองแกง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ตั้งเมืองนาน้อยอ้อนหนู ปู่แสนบาง นางแสนเก้า (เมืองแกง) และในยุคนั้นเกิดทุพพิกภัย (ยุคข้าวยากหมากแพง) จึงได้รวบรวมไพร่พลอพยพมาทางตอนใต้ อาศัยอยู่ตามลำน้ำเซน้อย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ในลำน้ำนานาประเภท และภูมิศาสตร์เป็นที่ราบระหว่างหุบเขาหลายๆลูกชาวบ้านจึงเรียกว่า “กวน”
          กวน จึงหมายถึง พื้นที่ ที่แวดล้อมด้วยหุบเขา ณ บริเวณแห่งนั้น จึงได้ตั้งเมืองหลวง ป่งลิง/ปุงลิง มีเมืองผานั่ง วัดคำ อยู่ริมฝั่งน้ำเซน้อย (เซบั้งไฟ) ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำโขงตรงข้ามกับอำเภอธาตุพนม
          เมืองหลวงป่งลิง/ปุงลิง เป็นชาวเมืองซึ่งมาจากเมืองนาน้อย อ้อนหนู ปู่แสนบาง นางแสนเก้า (ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าไทยกวน) มีการปกครองแบบชาวอีสาน-โบราณ คือ มีเจ้าเมืองอุปฮาด ราชวงศ์ราชบุตรเป็นผู้ปกครอง มีความเป็นอิสระปกครองกันมาหลายชั่วอายุคน ผู้ปกครององค์สุดท้าย ปรากฏชื่อ ท้าวไชยทรงยศ (ต้นตระกูลยศประสงค์)
          หลังจากชนเผ่าไทยกวนได้มาอยู่ดินแดนมรุกขรนคร พร้อมบรรบุรุษแล้วก็ได้ตั้งถิ่นฐานตามริมแม่น้ำฮวก ที่เรียกว่า บ้านฮ้างขัวกกตาล กลุ่มบุคคลกลุ่มนี้มีญาติจากเมืองปุงลิง ผาบัง วังคำ มีแม่เฒ่าศรีสองเมือง เป็นหัวหน้าหมู่บ้านทุ่งนาใน (บ้านฮ้างกกตาล) ในฤดูแล้ง ขาดแคลนน้ำ จึงได้ย้ายไปอยู่บ้านหัวดงนานอก (บ้านช้างยามเพียง)ทางไปบ้านดงยอ (ในปัจจุบัน)
          นานอก คือ ทุ่งใหญ่
          นาใน คือ ทุ่งตะวันออก
ต่อมาได้เกิดโรคระบาดหนัก จึงย้ายมาอยู่บ้านนาถ่อนทุ่ง คือ บ้านดงไม้ถ่อน (ในปัจจุบัน)
          ตำบลนาถ่อน ประเทศเมื่อปี พ.ศ.2384 ปะกอบด้วยบ้านนาถ่อนท่า นาถ่อนทุ่ง บ้านหัวขัว บ้านโพนบก บ้านดงยอ บ้านดงก้อม บ้านดงป่ายูง บ้านหนองหญ้าม้า บ้านหนองบัวโค้ง
          -กำนัน คนแรก คือ ท่าวไชยทรงยศ (2483)
          -กำนันคนปัจจุบัน คือ นายสมควร สุทันต์ (2555)
          -นายก อบต. คือ นายเรือน นันชนะ (2555)
          -ประธานสภาวัฒนธรรม คือ นายไพจิตร ไชยคราม (2555)
          -สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คือ ศาลเจ้าปู่ตาแสง
          -ชาวบ้าน นับถือผี และศาสนาพุทธ

คำขวัญตำบลนาถ่อน
          “ถิ่นเหล็กกล้าพร้าดี ผ้ามัดหมี่กี่กระตุก สนุกกับการเล่นพื้นเมือง รุ่งเรืองการพัฒนา สูงค่าประเพณีที่เด่นชัด ด้านวัฒนธรรมนำชุมชน”

คติประจำเผ่า “พอเสร็จหน้านา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายตีเหล็ก
ขอขอบคุณภาพบางส่วนจาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น