จิตรกรรมฝาผนัง วัดโพธิ์คำ (บ้านน้ำก่ำ ต.น้ำก่ำ อ.ธาตุพนม)
วัดโพธิ์คำ
เป็นวัดเก่าแก่เกิดขึ้นมาพร้อมกับบ้านน้ำก่ำ
สร้างเมื่อปี พ.ศ.2418 แต่สิมวัดสร้างเสร็จในปี พ.ศ.
2476
โดยช่างชาวญวน เป็นสิมแบบก่อผนังหันหน้าออกสู่แม่น้ำโขง
ด้านหน้า : มีประตู 1 ช่อง ทางขึ้นบันได
และราวบันไดทำเป็นตัวนาคทั้งสองด้าน
ด้านข้าง
: มีหน้าต่างด้านละ
2 บาน และเสริมด้วยหน้าต่างช่องลมมีลูกกรงของผนังด้านหน้าที่
ข้างประตูทางเข้า
หน้าบัน
: มีรูปปูนปั้นเป็นลวดลายเครือเถา
กึ่งกลางมีภาพปูนปั้นพระพุทธรูป จะระบายสีเฉพาะ
องค์พระพุทธรูป
และตัวลาย
ภายในสิม เป็นรูปแต้มพุทธประวัติ สุริยวงศ์
พระมาลัย พระป่าเลไลย์ รามเกียรติ์ โดยช่างแต้ม
ชื่อ
คุณพ่อลี ชะปราณ และนายบุญปัน ซึ่งเป็นน้องชาย ใช้เวลาในการวาด /แต้ม ประมาณ
ปีเศษๆ
ลักษณะของฮูปแต้ม : มองดูคล้ายกับว่าช่างแต้ม
ได้แต้มภาพลงบนผืนผ้า พระเวส 2 ผืนยาว (ต่อ
กันทางแนวยาว)
โดยดึงผืนผ้าส่วนบนให้ถึงบนสุดของฝาผนัง (ติดเพดาน)
และปลายผ้าส่วนล่างทิ้งตัวลงมาถึงกึ่งกลางของช่องหน้าต่าง
ผืนผ้าทั้งสองที่เรียงต่อกันตามแนวยาวนั้น
จะมีกรอบหรือถบคั่นกลาง แถบบน และแถบล่างสุด
กรอบลายบนสุด จะเป็นลายเครือ
กรอบกลาง จะเป็นลายเปลว
กรอบล่าง จะเป็นลายลูกพักก้ามปู
จากภาพรวมแล้ว ฮูปแต้มฝาผนังวัดโพธิ์คำ
มีพื้นที่ว่างจำนวนไม่น้อยผิดกับสิมอื่นทั่วไปที่มีฮูปแต้มจากช่างหลวงส่วนกลาง
ซึ่งเนื้อที่ของภาพจะเริ่มตั้งแต่ขอบด้านล่างของหน้าต่างไล่ขึ้นไปทางด้านบนจรดส่วนเหนือสุดของผนัง
ที่เชื่อมต่อกับเพดาน
บรรยากาศของฮูปแต้ม
จะมีความโปร่งใด สุกสว่าง สะอาด ฉากหลัง
พื้นภาพที่เปรียบเสมือนกับผืนผ้าที่ขาวโปร่งใส ปรากฏภาพของตัวละคร ซ้อนประสานกลมกลืนกันไปกับฉากหลัง
เป็นฮูปแต้มที่ตัวละคร มิได้ลอยโดดเด่นอย่างโจ่งแจ้ง รุนแรง
เหมือนกับภาพจิตรกรรมฝาผนังส่วนกลาง สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น