วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ทอผ้าย้อมสี บ้านนาแวง อำเภอเขมราฐ












กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ บ้านนาแวง ต.นาแวง
นางศิริพร คนฉลาด                           ประธานกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ บ้านนาแวง ม.12
คุณแม่สวย  ศรีชัย                            สมาชิกกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ บ้านนาแวง ม.12
คุณแม่นารีรัตน์  พิมพ์สวย                    สมาชิกกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ บ้านนาแวง ม.12
คุณพ่อเพ็ชรสี     พิมพ์สวย                   สมาชิกกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ บ้านนาแวง ม.12
           
                จากการบอกเล่าของสมาชิกในกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ บ้านนาแวง ต.นาแวง นั้นเป็นหนึ่งในเก้าตำบลของอำเภอเขมราฐ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของตัวอำเภอโดยทิศเหนือเป็นแนวเขตชายแดนติดกับลำน้ำโขง ซึ่งกั้นเป็นแนวเขต กับสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว ซึ่งมีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร ทิศใต้ติดกับตำบลกองโพน และตำบลนาตาล ของอำเภอนาตาล จ.อุบลราชธานี สถานที่ตั้งของตำบลนาแวงนั้นมีร่องรอยทางประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ยาวนานหลายร้อยปี โดยมีการบันทึกเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีซากปรักหักพังของสถูปและเจดีย์และเรื่องราวบอกเล่าต่อๆกันมา
          นอกจากนั้นแล้วยังมีสถาปัตยกรรมสมัยขอม ในยุคหลังประวัติศาสตร์อายุประมาณ 1500 ปี ในยุคของอาณาจักรฟูนัน กำลังรุ่งเรือง โดยชนเผ่าขอมได้อพยพขึ้นมาตามลำน้ำโขง เพื่อแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่ และได้นำเอาศิลปวัฒนธรรมของชาวขอมมาเผยแพร่ด้วย และยังได้สร้างสถานที่ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ปรากฏให้เห็นตลอดแนวลำน้ำโขง ที่เห็นเด่นชัดและยังคงอยู่ในปัจจุบัน คือ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล
          ประวัติศาสตร์บ้านนาแวง จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ก็ไม่สามารถระบุได้ว่า บ้านนาแวง ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อไหร่ เกิดมาก็พบร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ของหมู่บ้านอยู่แล้ว

          คุณพ่อกำนันซุย ไชยจักร เล่าว่า ตำบลนาแวง มีชื่อเดิมว่า “เมืองโขงเจียมเหนือ” ส่วนเมืองโขงเจียมใต้ คือ อำเภอโขงเจียมในปัจจุบันโดยทั้งสองเมืองนี้ตั้งขึ้นพร้อมกัน ผู้ก่อตั้งเมืองโขงเจียมเหนือคือ “พ่อมหาวิชัย” ส่วนปี พ.ศ. ที่ก่อตั้งนั้นไม่มีหลักฐานชัดเจน จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง เมืองโขงเจียมจึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น “ตำบลนาแวง” เมื่อปี พ.ศ. 2465 โดยประมาณ โดยมีนายคำดี ชาสุรีย์ ดำรงตำแหน่ง กำนันตำบลนาแวง เป็นคนแรก

เมืองดอกบัวงามนามอุบล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อุบลราชธานี
ประวัติจังหวัดอุบลราชธานี

              เมื่อปีพุทธศักราช 2228 เกิด วิกฤติทางการเมืองในนครเชียงรุ้ง เพราะกลุ่มจีนฮ่อธงขาวยกกำลังปล้น เมืองเจ้านครเชียงรุ้งคือ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี และเจ้าปางคำ ได้อพยพไพร่พลมาขอพึ่งบารมีพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ของเวียงจันท์ จึงโปรดให้นำไพร่พลไปตั้งเมืองที่หนองบัวลุ่มภู (ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู) โดยตั้งชื่อเมืองว่า นครเขื่อนขันธ์ กาบแก้วบัวบานต่อมาพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้เจ้าปางคำเสกสมรสกับพระราชนัดดาได้โอรส คือ เจ้าพระตา เจ้าพระวอซึ่งมีความสำคัญต่อเมืองอุบลราชธานีอย่างยิ่ง เพราะต่อมา ปีพุทธศักราช 2314 เกิดสงครามแย่งชิงอำนาจระหว่างเวียงจันท์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยเจ้าสิริบุญสาร เจ้าแผ่นดินเวียงจันท์ ขอบุตรธิดาของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ ไปเป็นนางห้ามและนางสนม แต่เจ้าพระตา เจ้าพระวอไม่ให้ เจ้าสิริบุญสาร จึงส่งกองทัพมาตีเมืองหนองบัวลุ่มภู เจ้าพระตา เจ้าพระวอ ยกกองทัพออกต่อสู้ และกองทัพเวียงจันท์ต้องพ่ายกลับไปหลายครั้ง
การรบระหว่างเวียงจันทร์กับเมืองหนองบัวลุ่มภู ต่อสู้กินเวลายาวนานถึง 3 ปี ไม่มีผลแพ้ชนะกัน เจ้าสิริบุญสารได้ส่งทูตไปขอกองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ ให้มาช่วยตีเมืองหนองบัวลุ่มภู โดยมีเงื่อนไขเวียงจันทร์ยอมเป็นเมืองขึ้นของพม่า กองทัพพม่าที่เมืองเชียงใหม่ จึงให้ม่องระแง คุมกองทัพมาช่วยเจ้าสิริบุญสารรบ เมื่อฝ่ายเจ้าพระตาทราบข่าวศึก คะเนคงเหลือกำลังที่จะต้านศึกกองทัพใหญ่กว่าไว้ได้ จึงให้เจ้าคำโส เจ้าคำขุย เจ้าก่ำ เจ้าคำสิงห์ พาไพร่พล คนชรา เด็ก ผู้หญิง พร้อมพระสงฆ์ อพยพมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองใหม่ไว้รอท่า หากแพ้สงครามจะได้อพยพติดตามมาอยู่ด้วย
โดย แรกได้มาตั้งเมืองที่บ้านสิงห์โคก บ้านสิงห์ท่า (ปัจจุบันคือจังหวัดยโสธร) และการสู้รบในครั้งสุดท้าย เจ้าพระตาถึงแก่ความตายในสนามรบ เจ้าพระวอผู้เป็นบุตรชายคนโต พร้อมด้วยพี่น้องคือ นางอูสา นางสีดา นางแสนสีชาด นางแพงแสน เจ้าคำผง เจ้าทิตพรหม และนางเหมือนตา ได้หลบหนีออกจากเมืองมารับเสบียงอาหารจากบ้านสิงห์โคก สิงห์ท่า แล้วผ่านลงไปตั้งเมืองที่ ดอนมดแดงพร้อมขอพึ่งพระเจ้าไชยกุมารองค์หลวง แห่งนครจำปาศักดิ์ ฝ่ายเจ้าสิริบุญสารทราบข่าวการตั้งเมืองใหม่ จึงให้อัคฮาดหำทอง และพญาสุโพ ยกกองทัพมาตีเจ้าพระวอสู้ไม่ได้ และเสียชีวิตในสนามรบ เจ้าคำผงผู้น้องจึงขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่ม พร้อมมีใบบอกลงไปที่เมืองนครราชสีมา และกรุงธนบุรี เพื่อขอพึ่งบารมีพระเจ้ากรุงธนบุรี ซึ่งให้ เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกองทัพมาช่วยเจ้าคำผง ด้านพญาสุโพรู้ข่าวศึกของเจ้ากรุงธนบุรี จึงสั่งถอยทัพกลับเวียงจันท์ แต่เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้เดินทัพติดตามทัพเวียงจันทร์ จนสามารถเข้ายึดเมืองได้สำเร็จ จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พร้อมคุมตัวเจ้าสิริบุญสารไปกรุงธนบุรี ส่วนเจ้าคำผงหลังเสร็จศึกได้กลับไปตั้งเมืองอยู่ที่ดอนมดแดงเหมือนเดิม กระทั่งปีพุทธศักราช 2319 เกิดน้ำท่วมใหญ่ เจ้าคำผงจึงอพยพไพร่พลไปอยู่ที่ดอนห้วยแจระแม (ปัจจุบัน คือบ้านท่าบ่อ) รอจนน้ำลด แล้วจึงหาทำเลที่ตั้งเมืองใหม่ที่ที่ตำบลบ้านร้าง เรียกว่า ดงอู่ผึ้งริมฝั่งแม่น้ำมูลอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน เมื่อปีพุทธศักราช 2320 พร้อมกับได้สร้างพระอารามหลวงขึ้นเป็นวัดแรก
ต่อมาปีพุทธศักราช 2322 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาราชสุภาวดี เชิญท้องตราขึ้นมาตั้งเป็นเมืองอุบลราชธานี พร้อมให้เจ้าคำผงเป็นเจ้าเมืองในราชทินนาม พระประทุมราชวงศาเจ้าทิตพรหมเป็นพระอุปฮาด เจ้าก่ำเป็นราชวงศ์ เจ้าสุดตาเป็นราชบุตร โดยเป็นคณะอาญาสี่ชุดแรกของเมืองอุบลราชธานี จนถึงกาลเปลี่ยนแผ่นดินปีพุทธศักราช 2334 สมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เกิดขบถอ้ายเชียงแก้วเขาโอง ยกกำลังมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าฝ่ายหน้าผู้น้องพระประทุมราชวงศาได้ยกกำลังไปรบ สามารถจับอ้ายเชียงแก้วได้ และทำการประหารชีวิตที่บริเวณแก่งตะนะ
ในปีถัดมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเมืองอุบลขึ้นเป็นเมืองประเทศราช แต่งตั้งให้พระประทุมราชวงศาเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) เจ้าครองเมือง เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไล ประเทศราชพระราชทานพระสุพรรณบัตร และเครื่องยศเจ้าเมืองประเทศราช พร้อมทำพิธีสบถสาบานถือน้ำพิพัฒน์สัตยา เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ จุลศักราช 1154 ปีชวด จัตวาศก ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 2335 โดยเป็นเจ้าเมืองคนแรกของอุบลราชธานี ถึงปี 2338 พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ทิตพรหม) น้อง ชายพระประทุม จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนต่อมา รวมมีเจ้าเมืองอุบลราชธานี ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งทั้งสิ้น 4 ท่าน
ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลฯ แล้ว ก็ได้มีการตั้งเมืองสำคัญในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นอีกหลายเมือง เช่น ใน พ.ศ. 2357 โปรดฯให้ตั้งบ้านโคกพเนียง เป็นเมืองเขมราฐธานี
ปี พ.ศ. 2366 ยกบ้านนาก่อขึ้นเป็นเมืองโขงเจียง (โขงเจียม) โดยขึ้นกับนครจำปาศักดิ์
ปี พ.ศ. 2388 ในรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านช่องนางให้เป็นเมืองเสนางคนิคม ยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ให้หลวงอภัยเป็นหลวงยกบัตรหลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง รักษาราชการแขวงเมืองเดชอุดม
ปี พ.ศ. 2390 ตั้งบ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็นเมืองบัวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองบัวบุณฑริก หรืออำเภอบุณฑริกในปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2401 ตั้งบ้านค้อใหญ่ ให้เป็นเมือง ขอตั้งท้าวจันทบรม เป็นพระอมรอำนาจ เป็นเจ้าเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด ให้ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ ท้าวสุริโยเป็นราชบุตร รักษาราชการเมืองอำนาจเจริญขึ้นกับเมืองเขมราฐ
ปี พ.ศ. 2406 ในรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด ตำบลปากมูล เป็นเมืองพิบูลมังสาหารและให้ตั้งบ้านสะพือ เป็นเมืองตระการพืชผล ตั้งท้าวสุริยวงษ์ เป็นพระอมรดลใจ เป็นเจ้าเมือง
ปี พ.ศ. 2422 ในรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านท่ายักขุเป็นเมืองชานุมานมณฑล และให้ตั้งบ้านเผลา (บ้านพระเหลา) เป็นเมืองพนานิคม
ปี พ.ศ. 2423 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนากอนจอ เป็นเมืองวารินชำราบ
ปี พ.ศ. 2424 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านจันลานาโดม เป็นเมืองโดมประดิษฐ์ (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่อำเภอน้ำยืน)
ปี พ.ศ. 2425 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทีเป็นเมืองเกษมสีมา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอม่วงสามสิบนั่นเอง
อุบลราชธานี จึงเป็นเมืองที่มีเขตการปกครองอย่างกว้างขวางที่สุด ทางด้านตะวันออกของภาคอีสานตอนล่างครอบคลุมที่ราบและแม่น้ำสายสำคัญของภาค อีสานถึง 3 สายด้วยกัน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง อีกทั้งยังมีแม่น้ำสายเล็กๆที่มีกำเนิดจากเทือกเขาในพื้นที่ เช่น ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น
แม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ไหลผ่านที่ราบทางด้านเหนือและทางด้านใต้ทอด เป็นแนวยาวสู่ปากแม่น่ำมูลและแม่น้ำโขง ยังความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พื้นที่ในบริเวณแถบนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์มาแต่ โบราณกาล [3]
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการยกเลิกมณฑลทั้งประเทศ จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งแยกออกมาจากมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้กลายเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หลังจากนั้นจังหวัดอุบลราชธานีก็ได้ถูกแบ่งออก โดยอำเภอยโสธรและอำเภอใกล้เคียงเป็นจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2515 และต่อมาปี 2536 ได้ถูกแบ่งอีกครั้ง โดยอำเภออำนาจเจริญและอำเภอใกล้เคียงเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่เป็นอันดับ 5 ของไทย และมีประชากรลำดับที่ 3 ของประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

จิตรกรรมฝาผนัง ว้ัดเวฬุวัน














กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านคำเดือย








หมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่าภูไทและกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง บ้านคำเดือย ต.คำเขื่อนแก้ว
นางสาวแววมณี คำสุรินทร์  ประธานกลุ่ม
นางสาวอภัสสร สิงห์แก้ว  เลขานุการ
นางสาวรุ่งนภา ผิวอ่อน  ประชาสัมพันธ์
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านวัฒนธรรมชนเผ่าและความเป็นมาของกลุ่มทอผ้า
          เทศบาลไขประตูเล้าชนเผ่าภูไท บ้านคำเดือย ต.คำเขื่อนแก้ว อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ
ชนเผ่าภูไทย บ้านคำเดือย เดิมทีเป็นชาวลาว มาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย หลังจากเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2373 ตามพระราชดำริของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และนโยบายของเจ้าพระยาบดินเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โดยให้เจ้านายพื้นเมืองเกลี้ยกล่อมบ่าวไพร่ของตนเองให้อพยพมาตั้งบ้านเมืองทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง อาณาเขตของประเทศไทย และกลุ่มที่อพยพมานั้นได้ตั้งบ้านเรือนในเขตจังหวัดอำนาจเจริญ ที่อำเภอเสนางคนิคม และอำเภอชานุมาน และยังมีกลุ่มที่อพยพไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆ เช่น มุกดาหาร นครพนม และสกลนคร ชาวลาวที่อพยพมานั้น เป็นชนเผ่าภูไทย มีภาษาเฉพาะเผ่า คือ ภาษาภูไท เป็นภาษาพูดไม่ปรากฏเป็นภาษาเขียน ในเขตจังหวัดอำนาจเจริญก็แยกออกเป็นหลายหมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนาสะอาด บ้านคำเดือย บ้านสงยาง บ้านโนนกุง บ้านหินสิ่ว บ้านหินกอง บ้านบุ่งเขียว บ้านนางาม ฯลฯ
          วัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญของชนเผ่าภูไทย
          ลูกหลาน ของชนเผ่าภูไทย จะถูกอบรมสั่งสอนมาให้ยึดหลักความถูกต้องในทุกๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องไม่ให้ทำผิดศีลธรรม ที่สำคัญคือศีลห้า คือ ไม่ให้ผิดลูกเขาเมียใคร อบรมสั่งสอนลูกหลานให้อยู่ในม่านประเพณี เรื่องชู้สาว เพราะอาจจะทำให้ผิดผีได้ ผิดผี คือ ผิดประเพณีของการปฏิบัติที่ดีงามของบรรพบุรุษ คือ เจ้าปู่แห่งหมู่บ้านนั้นเอง ถ้าลูกหลานกระทำผิดแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดเหตุภัยขึ้นต่อคนในหมู่บ้าน
การแต่งกาย    : ผู้หญิง แต่งกายด้วยผ้าฝ้ายย้อมคราม ผ้าถุงซิ่น ตีนจก คาดผ้าสไบสีขาว
                             : ผู้ชาย นุ่งสะโหร่ง ผ้าฝ้ายย้อมคราม
          วิถีชีวิตและความเชื่อ
          การดำเนินชีวิตของชนเผ่าภูไทนั้น เป็นแบบเรียบง่ายมีความพอเพียง
                   ผู้หญิง : ทำงานบ้าน ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์
                   ผู้ชาย : เป็นผู้นำในการหาเลี้ยงครอบครัว ล่าสัตว์ จัดทำเครื่องมือ เครื่องใช้ในครัวเรือน จักสาน
          ในปัจจุบันนี้ชาวภูไทบ้านคำเดือยยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีสืบต่อกันมาโดยเฉพาะชาวภูไทที่สูงอายุ จะเคร่งครัดมากในการรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิม
          ความเชื่อของชาวภูไทย : เชื่อเรื่องภูตผี มีการบูชาวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ มีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อ เช่น รำผีไห้ พิธีกรรมกินหมูล้างดิน เป็นต้น
          ผู้นำที่ชาวภูไทบ้านคำเดือยให้ความเคารพ เชื่อถือ นายสาเม็ง ปักขีพันธ์




แวะชนเผ่าภูไท บ้านคำเดือย








ภาษาภูไท หรือผู้ไท จะมีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน ความแตกต่างด้านสำเนียงการออกเสียง ซึ่งชาวภูไทแต่ละท้องที่จะพูดสำเนียงไม่เหมือนกัน แต่ก็พอเดาคำพุดของกันได้ เพราะยังไงก็ยังเป็น ภูไท เหมือนกัน เรามาเริ่มเรียนรู้ศัพท์ภาษาภูไท กันก่อนนะครับ ศัพท์คู่ คำว่า ข้อย และคำว่า เจ๊าศัพท์คำว่า ข้อย(เสียงสูง-สั้น) ,ขะน้อย= ผม,กระผม พูดเป็นประโยคว่า  ข้อยกะเยอะได๋ยุ แปลว่า ผมก็อยากได้หรือว่าต้องการ เหมือนกันความหมายอื่นของคำว่า ข้อย (เสียงต่ำ-ยาว) ในภาษาภูไทลึกๆนั้นหมายความว่า ทาส,ข้าทาส 
(คนรับใช้) คำเหล่านี้ความหมายจะแตกต่างกันที่การออกเสียง นะครับ
ศัพท์คำว่า เจ๊า (เสียงกลาง-สั้น) = คุณ,ท่าน,เธอ, เจ๊าเป็นคำที่ผู้พูดคนที่ 1 พูดกับบุคคลที่ 2 เท่านั้น ถ้าทั้ง 2 คนพูดถึงคนที่ 3 จะใช้คำว่า เพิ่น = ท่าน, หรือคำว่า มัน คำว่า มัน ผู้มีอายุมากพูดไปถึงผู้มีอายุน้อย ส่วนผู้มีอายุน้อยพูดไปถึงผู้มีอายุมากจะใช้คำว่า เพิ่นในที่นี้จะแปลว่า ท่าน นะครับ








ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ




ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ

จังหวัดอำนาจเจริญ มีประวัติความเป็นมา เดิมตั้งอยู่บ้านค้อต่อมายกฐานะสูงขึ้น เป็น

เมืองค้อ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ แล้วได้เปลี่ยนชื่อ เมืองอำนาจเจริญ ในรัชกาลที่ ๔ เปลี่ยนเป็น อำเภออำนาจเจริญ ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ ให้ขึ้นกับเมืองเขมราฐ บริเวณอุบลราชธานี
อำเภออำนาจเจริญ ย้ายสังกัดไปขึ้นเมืองยโสธร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ แล้วย้ายไปขึ้น เมืองอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ นอกจากนั้นยังย้ายที่ตั้งอำเภอ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ย้ายอำเภออำนาจเจริญจากบ้านค้อใหญ่ เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการปกครอง และให้เป็นศูนย์กลางของตำบล ที่อยู่ในการปกครอง จึงย้ายอำเภออำนาจเจริญจากบ้านค้อใหญ่ไปตั้งที่บ้านบุ่งติดกับลำห้วยปลาแดก ตั้งที่ว่าการอำเภอ ณ ที่ตั้งสำนักงานแขวงการทางอำนาจเจริญปัจจุบัน ตั้งสถานีตำรวจในบริเวณ วัดอำนาจเจริญ หรือวัดหนองแซง ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ  พ.ศ. ๒๔๖๐ เปลี่ยนชื่ออำเภออำนาจเจริญเป็นอำเภอบุ่ง พ.ศ. ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกเมืองทั้งหมด ที่เป็นศูนย์กลางที่มีอำเภอมารวมขึ้นด้วยว่า จังหวัด เมืองอุบลราชธานีจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดอุบลราชธานี เปลี่ยนคำเรียกตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมือง เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนแปลงและกำหนดชื่อจังหวัดและอำเภอใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ดังนั้นอำเภออำนาจเจริญ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบุ่ง และเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่ตั้งตามคำแนะนำของ พระยาสุนทรพิพิธ เลขามณฑลอีสาน เพราะว่า บุ่ง แปลว่า บริเวณที่มีน้ำ หรือ บึง และรองอำมาตย์โทหลวงอเนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฎ) เป็นนายอำเภอคนแรก และในปีเดียวกัน อำเภอพนานิคม เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอขุหลุ
พ.ศ. ๒๔๘๒ อำเภอบุ่ง เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภออำนาจเจริญ เพื่อให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของอำเภอในอนาคต จึงได้ย้ายอำเภอบุ่ง จากบริเวณวัดอำนาจเจริญ มาตั้งอยู่ในบริเวณสระหนองเม็ก เพราะว่าที่ตั้งแห่งใหม่ มีพื้นที่เหมาะต่อการขยายพื้นที่ในอนาคตและกลับไปใช้ชื่ออำเภออำนาจเจริญ ตามเดิม พ.ศ. ๒๕๒๒ เสนอพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญเป็นครั้งที่ ๒ ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญและพระราชบัญญัติตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญ เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่งสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการแล้วให้ตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญก่อน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ นับเป็นขั้นแรกจะเป็นจังหวัดอำนาจเจริญต่อไป
วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือเนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ แยกอำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอหัวตะพาน และกิ่งอำเภอลืออำนาจ ออกจากการปกครองของจังหวัดอุบลราชธานี รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ
ประกาศในหนังสือราชกิจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า ๔,,๖ เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๒๕ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ มีผลบังคับใช้ ดังนั้น อำเภออำนาจเจริญ จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นจังหวัดลำดับที่ ๗๕ ของประเทศไทย (สุจิตต์ วงษ์เทศ , ๒๕๔๙: ๑๐๗-๑๑๐)
ปัจจุบัน จังหวัดอำนาจเจริญ แบ่งเขตการปกครอง เป็น ๗ อำเภอ ๕๖ ตำบล ดังนี้
๑. อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ๑๙ ตำบล
๒. อำเภอหัวตะพาน ๘ ตำบล
๓. อำเภอปทุมราชวงศา ๗ ตำบล
๔. อำเภอพนา ๔ ตำบล
๕. อำเภอชานุมาน ๕ ตำบล
๖. อำเภอเสนางคนิคม ๖ ตำบล
๗. อำเภอลืออำนาจ ๗ ตำบล

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

จิตรกรรมฝาผนัง อ.หว้านใหญ่


จิตรกรรมฝาผนัง  วัดพระศรีมหาโพธิ์  จ.มุกดาหาร















วัดพระศรีมหาโพธิ์  จ.มุกดาหาร
          วัดพระศรีมหาโพธิ์  เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมานานนับ 100 ปี ตั้งอยู่กลางชุมชน ริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นศูนย์รวมแห่งธรรมะ ของพุทธศาสนิกชนทั้งสองฝั่งโขง ไทย-ลาว เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีความผาสุขสืบต่อกันมา ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
          กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนพิเศษ 4ง วันที่ 15 มกราคม 2541 กำหนดพื้นที่โบราณสถาน ประมาณ 1 ไร่ 1 งาน 55.79 ตารางวา
          ภายในวัดศรีมหาโพธิ์ สิ่งที่น่าสนใจ คือ
          1.สิมโบราณ
          2.กุฎิทรงยุโรป
1.สิม  หรือพระอุโบสถ
          สิมเก่าแก่หลังเล็กๆ สร้างขึ้นเมื่อปี 2459 โดยขุนวิรุฬคาม (ดี เมืองโคตร) ซึ่งเป็นกำนันในสมัยนั้น รูปแบบเป็นสิมทึบมีประตูเข้าออกทางด้านหน้า ด้านเดียว ก่ออิฐถือปูน โครงสร้างทำด้วยไม้ หลังคามุงสังกะสี
-          ด้านหน้ามีมุกยื่นออกมา ลักษณะเป็นแบบสกุลช่างญวณผสมกับช่างพื้นบ้าน
-          คันทวย แกะสลักไม้ได้อย่างสวยงาม
-          หน้าต่าง ด้านละ 1 ช่อง มีลูกหวดไม้กั้นไว้ เจาะช่องระบายอากาศ มีการปั้นนูนสูงครอบช่องไว้ให้สวยงาม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของช่างญวณ
-          ขื่อ คานไม้ในสิม แกะสลักสวยงามยิ่งนัก มีฐานชุกชี ประดิษฐาน พระพุทธรูปแบบช่างพื้นบ้าน สร้างผนังทำเป็นกรอบรัศมีองค์พระ (ไม่เคยเห็นในที่ใดมาก่อน)
ฮูปแต้ม : ตามฝาผนัง เป็นฮูปแต้มเรื่องราวพระเวสสันดรชาดก ใช้สีและจัดวางองค์ประกอบ ได้เหมาะสมสวยงาม เป็นภาพเขียน/ฮูปแต้มสีฝุ่น โทนสีอ่อนสบายตายิ่งนัก เกิดความงดที่ทรงคุณค่าอีกวัดหนึ่ง
2.กุฏิทรงยุโรป
          ปี พ.ศ 2467 ชาวบ้านหว้านใหญ่ ได้ก่อสร้างกุฎิทรงยุโรปขึ้น 1 หลัง ได้ช่างญวณ ชื่อ แกวบุญสี ได้ก่อสร้างอาคารทรงยุโรปในประเทศลาวด้วย และได้เดินทางมาเที่ยวหว้านใหญ่และได้ร่วมกับชาวบ้านว่าจะร่วมก่อสร้างให้แล้วเสร็จ แต่ชาวบ้านกังวลว่าหากนายช่าง แกวบุญศรี เดินทางกับบ้านเมื่อไหร่ โบสถ์คงไม่เสร็จ จึงได้ร่วมกันของร้องให้ ช่างแกวบุญสี บวชเป็นพระประจำอยู่วัดนี้เลย จนกระทั้งก่อสร้างโบสถ์ทรงยุโรปเสร็จ จึงให้ลาสิกขากลับบ้านของตน แต่ไม่มีระบุว่าก่อสร้างโบสถ์ทรงยุโรป เสร็จเมื่อปี พ.ศ.ใด





ประว้ติมุกดาหาร

          
          เจ้าจันทรสุริยวงษ์และพรรคพวกได้ตั้งอยู่ที่บ้านหลวงโพนสิม ใกล้พระธาตุอิงฮังทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ดินแดนลาว) ต่อมาอีกหลายสิบปี จนได้ถึงแก่กรรม เจ้าจันทกินรี ผู้เป็นบุตร ได้เป็นหัวหน้าปกครองต่อมา จนถึง พ.ศ. 2310 ได้มีนายพรานคนหนึ่งข้ามโขงมาทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากห้วยบังมุก ได้พบเมืองร้าง วัดร้างและพบต้นตาล 7 ยอดอยู่ริมฝั่งโขง เห็นว่าเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์กว่าดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อีกทั้งในแม่น้ำโขงตรงปากห้วยบังมุกมีปลาชุมชุมอีกด้วย จึงกลับไปรายงานให้เจ้าจันทกินรีหัวหน้าทราบ เจ้าจันทกินรีได้พาพรรคพวกข้ามโขงมาดูก็เห็นว่าคงเป็นที่ตั้งเมืองโบราณมาก่อน และเป็นทำเลที่อุดมสมบูรณ์กว่าทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง จึงได้พากันอพยพจากบ้านหลวงโพนสิมมาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงปากห้วยบังมุก

          เมื่อเริ่มถากถางหักร้างพงเพื่อตั้งเมืองขึ้นใหม่ ได้พบพระพุทธรูป 2 องค์อยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขง พระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ส่วนพระพุทธรูปองค์เล็กเป็นพระพุทธรูปโลหะหล่อด้วยเหล็กเนื้อดี จึงได้พร้อมกันสร้างวัดขึ้นใหม่ในบริเวณวัดร้างริมฝั่งโขง และขนานนามวัดที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า วัดศรีมุงคุณ(ศรีมงคล) และได้ก่อสร้างกุฏิวิหารขึ้น ในบริเวณวัดพร้อมกับได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งสององค์ที่อยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขงขึ้นไปประดิษฐาน บนพระวิหารของวัด ต่อมาปรากฎว่าพระพุทธรูปโลหะ (องค์เล็ก) เกิดปาฎิหาริย์กลับลงไปประดิษฐานอยู่ใต้ต้นโพธิ์ที่ตั้งเดิมอีกถึง 3-4 ครั้ง ในที่สุดพระพุทธรูปองค์เล็กนั้นก็ค่อยๆ จมหายลงไปใต้ดิน คงเห็นแต่ยอดพระเกศโผล่ขึ้นมาให้เห็นอยู่ใต้ต้นโพธิ์ริมฝั่งโขง จึงได้พร้อมกันสร้างแท่นสักการะบูชาครอบไว้ในบริเวณนั้น และขนานนามพระพุทธรูปองค์นั้นว่า พระหลุบเหล็ก ปัจจุบันบริเวณที่พระหลุบเหล็กจมดินได้ถูกกระแสน้ำเซาะตลิ่งโขงพังลงไปหมดแล้ว (คงเหลือแต่แท่นสักการะบูชาที่ยกเข้ามาเก็บรักษาไว้หน้าพระวิหารของวัดศรีมงคลใต้ในปัจจุบัน)

          ส่วนพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ก่ออิฐถือปูนและได้อัญเชิญขึ้นไปประดิษฐานอยู่บนพระวิหารของวัดศรีมุงคุณ ชาวเมืองได้ขนานนามว่า "พระเจ้าองค์หลวง" เป็นพระประธานของวัดศรีมุงคุณ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนนามเป็น วัดศรีมงคลใต้ ตลอดมาจนถึงปัจจุบันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองตลอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

          เมื่อครั้งตั้งเมืองขึ้นใหม่ในเวลากลางคืน ได้มีผู้พบเห็นแก้วดวงหนึ่งสีสดใสเปล่งแปลงเป็นประกายแวววาวเสด็จ(ลอย) ออกจากต้นตาล 7 ยอดริมฝั่งโขง ล่องลอยไปตามลำน้ำโขงแทบทุกคืน จวบจนใกล้รุ่งสว่างแก้วดวงนั้นจึงเสด็จ(ลอย) กลับมาที่ต้นตาล 7 ยอด เจ้าจันทกินรีจึงได้ขนานนามแก้วศุภนิมิตดวงนี้ว่า แก้วมุกดาหาร เพราะตั้งเมืองขึ้นริมฝั่งโขงตรงปากห้วยบังมุกอีกทั้งได้มีผู้พบเห็นไข่มุก อยู่ในหอยกาบ(หอยกี้) ในลำน้ำโขงอีกด้วย เจ้าจันทกินรีจึงให้ขนานนามเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า เมืองมุกดาหาร ตั้งแต่เดือน 4 ปีกุน จุลศักราช 1132(พ.ศ.2313) อาณาเขตเมืองมุกดาหารครอบคลุมทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขงจนจรดแดนญวน (รวมเขตของแขวงสุวรรณเขตของดินแดนลาวด้วย)

          ครั้นถึงสมัยกรุงธนบุรีเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราช ได้แผ่แสนยานุภาพขึ้นมาถึงแถบลุ่มแม่น้ำโขง จนถึง พ.ศ. 2321 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกฯ และเจ้าพระายาจักรียกกองทัพขึ้นมาตามลำน้ำโขง เพื่อปราบปรามและรวบรวมหัวเมืองใหญ่น้อยในสองฝั่งแม่น้ำโขงให้รวมอยู่ในข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงธนบุรี และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ เจ้าจันทกินรี เป็น พระยาจันทรศรีสุราชอุปราชามันธาตุราช เจ้าเมืองมุกดาหารคนแรกและได้พระราชทานนามเมืองว่า เมืองมุกดาหาร

วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

OTOP ดอนตาล มุกดาหาร


ลิภัฑ์ สิค้(OTOP)
บ้ล่  อำ  จัวัมุ














หมู่บ้านสินค้าโอทอปเพื่อการท่องเที่ยว
บ้านหนองหล่ม ม.3 ต.โพธิ์ไทย อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร
*คุณแม่สิริหวัง อุทโท ประธานกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง / ผ้าเย็บมือ
*คุณลุงมานพ พิกุลศรี ประธานกลุ่มข้าวกล้อง คุณแม่รมณียา ยืนยง คณะกรรมการกลุ่ม ได้เล่าให้ฟังว่า
          บ้านหนองหล่ม เป็นหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยวของจังหวัดมุกดาหาร โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีชีวิตภูไทยและสายน้ำ อันเป็นวัฒนธรรมสองฝั่งโขง บรรพบุรุษบ้านหนองหล่ม ดั้งเดิมนั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองวัง อ่างคำ ฝั่งประเทศลาว ต่อมาได้เกิดความแห้งแล้ง ผู้คนจึงพากันอพยพมาจนกระทั่งพบหนองน้ำขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ตลอดปี สภาพโดยรอบๆหนองน้ำเต็มไปด้วยป่าไม้ นานาพันธ์ พืชพันธ์ ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดปี พื้นดินดีเหมาะแก่การทำนา ปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ จึงได้ตกลงกันตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บริเวณนี้ เรียกชื่อว่า “ห้วยหนองหล่ม” และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่นี้ว่า “บ้านหนองหล่ม” จนกระทั้งปัจจุบัน
          อัติลักษณ์ของชุมชน
          บ้านหนองหล่มเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ริมฝั่งโขง มีทัศนียภาพอันงดวาม วิถีชีวิตของชาวบ้านทำการประมง ทำการเกษตรบนเกาะแก่ง และการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เน้นวัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นจุดขาย ชาวบ้านอัธยาศัยไมตรีอันดี ตามวิถีชีวิตผู้ไทย มีความอบอุ่น มีวิทยากรของชุมชนที่สามารถและพร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนริมโขงและนำเยี่ยมชมกิจกรรมต่างๆของชุมชน เช่นการล่องเรือท่องเที่ยวชมทัศนียภาพริมสองฝั่งโขง ชมเกาะแก่งกลางลำน้ำโขง ศึกษาวิถีชีวิตชุมชน มีพิธีต้อนรับผู้มาเยือน ด้วยการบายศรีสู่ขวัญ อาหารพาแลง ชมหมอลำผญา ดนตรีพื้นบ้าน การจัดแสดงการจำหน่ายสินค้า OTOP ในยามรุ่งเช้าทำบุญตักบาตรรับการบรรยายกาศริมโขง
          ผลิตภัณฑ์ของชุมชน
          -ผ้าห่มทอมือ
          -เสื้อเย็บมือ
          -ข้าวกล้อง
          -ผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก
          แห่ลงท่องเที่ยว
          -พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน
          -ไหว้พระพุทธรูปเก่าแก่ อายุกว่า 1,200 ปี
          ประเพณีวัฒนธธรรม
          -หมอลำผญา  ละดนตรีพื้นบ้าน
          -กิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เช่น
         -พิธีบายศรีสู่ขวัญ