จิตรกรรมฝาผนัง วัดพระศรีมหาโพธิ์ จ.มุกดาหาร
วัดพระศรีมหาโพธิ์ จ.มุกดาหาร
วัดพระศรีมหาโพธิ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมานานนับ 100 ปี
ตั้งอยู่กลางชุมชน ริมฝั่งแม่น้ำโขง เป็นศูนย์รวมแห่งธรรมะ
ของพุทธศาสนิกชนทั้งสองฝั่งโขง ไทย-ลาว เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ
มีความผาสุขสืบต่อกันมา ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน
กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติในพระราชกิจจานุเบกษา
เล่มที่ 115 ตอนพิเศษ 4ง วันที่ 15 มกราคม 2541 กำหนดพื้นที่โบราณสถาน ประมาณ 1
ไร่ 1 งาน 55.79 ตารางวา
ภายในวัดศรีมหาโพธิ์ สิ่งที่น่าสนใจ คือ
1.สิมโบราณ
2.กุฎิทรงยุโรป
1.สิม หรือพระอุโบสถ
สิมเก่าแก่หลังเล็กๆ สร้างขึ้นเมื่อปี
2459 โดยขุนวิรุฬคาม (ดี เมืองโคตร) ซึ่งเป็นกำนันในสมัยนั้น
รูปแบบเป็นสิมทึบมีประตูเข้าออกทางด้านหน้า ด้านเดียว ก่ออิฐถือปูน
โครงสร้างทำด้วยไม้ หลังคามุงสังกะสี
-
ด้านหน้ามีมุกยื่นออกมา ลักษณะเป็นแบบสกุลช่างญวณผสมกับช่างพื้นบ้าน
-
คันทวย แกะสลักไม้ได้อย่างสวยงาม
-
หน้าต่าง ด้านละ 1 ช่อง มีลูกหวดไม้กั้นไว้
เจาะช่องระบายอากาศ มีการปั้นนูนสูงครอบช่องไว้ให้สวยงาม
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของช่างญวณ
-
ขื่อ คานไม้ในสิม แกะสลักสวยงามยิ่งนัก มีฐานชุกชี
ประดิษฐาน พระพุทธรูปแบบช่างพื้นบ้าน สร้างผนังทำเป็นกรอบรัศมีองค์พระ
(ไม่เคยเห็นในที่ใดมาก่อน)
ฮูปแต้ม : ตามฝาผนัง
เป็นฮูปแต้มเรื่องราวพระเวสสันดรชาดก ใช้สีและจัดวางองค์ประกอบ ได้เหมาะสมสวยงาม
เป็นภาพเขียน/ฮูปแต้มสีฝุ่น โทนสีอ่อนสบายตายิ่งนัก
เกิดความงดที่ทรงคุณค่าอีกวัดหนึ่ง
2.กุฏิทรงยุโรป
ปี พ.ศ 2467 ชาวบ้านหว้านใหญ่
ได้ก่อสร้างกุฎิทรงยุโรปขึ้น 1 หลัง ได้ช่างญวณ ชื่อ แกวบุญสี
ได้ก่อสร้างอาคารทรงยุโรปในประเทศลาวด้วย
และได้เดินทางมาเที่ยวหว้านใหญ่และได้ร่วมกับชาวบ้านว่าจะร่วมก่อสร้างให้แล้วเสร็จ
แต่ชาวบ้านกังวลว่าหากนายช่าง แกวบุญศรี เดินทางกับบ้านเมื่อไหร่ โบสถ์คงไม่เสร็จ
จึงได้ร่วมกันของร้องให้ ช่างแกวบุญสี บวชเป็นพระประจำอยู่วัดนี้เลย
จนกระทั้งก่อสร้างโบสถ์ทรงยุโรปเสร็จ จึงให้ลาสิกขากลับบ้านของตน
แต่ไม่มีระบุว่าก่อสร้างโบสถ์ทรงยุโรป เสร็จเมื่อปี พ.ศ.ใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น