![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEir4n_NgG-VnHygF3jPqs8Vki_vgbNShJ2okiOJSh56rt7JMoYs0_qArvBbXM3bwK5dfw51k6Z1b9C5SklssIH8CKCGn1UUI7p1Whwy8bOBMbZOy8IvbFb9tgFR7Q-kiV8bqlXj0W2ALsdK/s400/phramongkol-mingmuang.jpg)
ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอำนาจเจริญ
มีประวัติความเป็นมา เดิมตั้งอยู่บ้านค้อต่อมายกฐานะสูงขึ้น เป็น
เมืองค้อ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๓
แล้วได้เปลี่ยนชื่อ เมืองอำนาจเจริญ ในรัชกาลที่ ๔ เปลี่ยนเป็น อำเภออำนาจเจริญ
ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ ให้ขึ้นกับเมืองเขมราฐ บริเวณอุบลราชธานี
อำเภออำนาจเจริญ ย้ายสังกัดไปขึ้นเมืองยโสธร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ แล้วย้ายไปขึ้น เมืองอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ นอกจากนั้นยังย้ายที่ตั้งอำเภอ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ย้ายอำเภออำนาจเจริญจากบ้านค้อใหญ่ เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการปกครอง และให้เป็นศูนย์กลางของตำบล ที่อยู่ในการปกครอง จึงย้ายอำเภออำนาจเจริญจากบ้านค้อใหญ่ไปตั้งที่บ้านบุ่งติดกับลำห้วยปลาแดก ตั้งที่ว่าการอำเภอ ณ ที่ตั้งสำนักงานแขวงการทางอำนาจเจริญปัจจุบัน ตั้งสถานีตำรวจในบริเวณ วัดอำนาจเจริญ หรือวัดหนองแซง ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ พ.ศ. ๒๔๖๐ เปลี่ยนชื่ออำเภออำนาจเจริญเป็นอำเภอบุ่ง พ.ศ. ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกเมืองทั้งหมด ที่เป็นศูนย์กลางที่มีอำเภอมารวมขึ้นด้วยว่า จังหวัด เมืองอุบลราชธานีจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดอุบลราชธานี เปลี่ยนคำเรียกตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมือง เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนแปลงและกำหนดชื่อจังหวัดและอำเภอใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ดังนั้นอำเภออำนาจเจริญ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบุ่ง และเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่ตั้งตามคำแนะนำของ พระยาสุนทรพิพิธ เลขามณฑลอีสาน เพราะว่า บุ่ง แปลว่า บริเวณที่มีน้ำ หรือ บึง และรองอำมาตย์โทหลวงอเนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฎ) เป็นนายอำเภอคนแรก และในปีเดียวกัน อำเภอพนานิคม เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอขุหลุ
พ.ศ. ๒๔๘๒ อำเภอบุ่ง เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภออำนาจเจริญ เพื่อให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของอำเภอในอนาคต จึงได้ย้ายอำเภอบุ่ง จากบริเวณวัดอำนาจเจริญ มาตั้งอยู่ในบริเวณสระหนองเม็ก เพราะว่าที่ตั้งแห่งใหม่ มีพื้นที่เหมาะต่อการขยายพื้นที่ในอนาคตและกลับไปใช้ชื่ออำเภออำนาจเจริญ ตามเดิม พ.ศ. ๒๕๒๒ เสนอพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญเป็นครั้งที่ ๒ ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญและพระราชบัญญัติตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญ เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่งสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการแล้วให้ตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญก่อน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ นับเป็นขั้นแรกจะเป็นจังหวัดอำนาจเจริญต่อไป
วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือเนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ แยกอำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอหัวตะพาน และกิ่งอำเภอลืออำนาจ ออกจากการปกครองของจังหวัดอุบลราชธานี รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ
ประกาศในหนังสือราชกิจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า ๔,๕,๖ เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๒๕ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ มีผลบังคับใช้ ดังนั้น อำเภออำนาจเจริญ จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นจังหวัดลำดับที่ ๗๕ ของประเทศไทย (สุจิตต์ วงษ์เทศ , ๒๕๔๙: ๑๐๗-๑๑๐)
ปัจจุบัน จังหวัดอำนาจเจริญ แบ่งเขตการปกครอง เป็น ๗ อำเภอ ๕๖ ตำบล ดังนี้
๑. อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ๑๙ ตำบล
๒. อำเภอหัวตะพาน ๘ ตำบล
๓. อำเภอปทุมราชวงศา ๗ ตำบล
๔. อำเภอพนา ๔ ตำบล
๕. อำเภอชานุมาน ๕ ตำบล
๖. อำเภอเสนางคนิคม ๖ ตำบล
๗. อำเภอลืออำนาจ ๗ ตำบล
อำเภออำนาจเจริญ ย้ายสังกัดไปขึ้นเมืองยโสธร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๒ แล้วย้ายไปขึ้น เมืองอุบลราชธานี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ นอกจากนั้นยังย้ายที่ตั้งอำเภอ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ย้ายอำเภออำนาจเจริญจากบ้านค้อใหญ่ เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการปกครอง และให้เป็นศูนย์กลางของตำบล ที่อยู่ในการปกครอง จึงย้ายอำเภออำนาจเจริญจากบ้านค้อใหญ่ไปตั้งที่บ้านบุ่งติดกับลำห้วยปลาแดก ตั้งที่ว่าการอำเภอ ณ ที่ตั้งสำนักงานแขวงการทางอำนาจเจริญปัจจุบัน ตั้งสถานีตำรวจในบริเวณ วัดอำนาจเจริญ หรือวัดหนองแซง ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ พ.ศ. ๒๔๖๐ เปลี่ยนชื่ออำเภออำนาจเจริญเป็นอำเภอบุ่ง พ.ศ. ๒๔๕๙ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกเมืองทั้งหมด ที่เป็นศูนย์กลางที่มีอำเภอมารวมขึ้นด้วยว่า จังหวัด เมืองอุบลราชธานีจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดอุบลราชธานี เปลี่ยนคำเรียกตำแหน่ง ผู้ว่าราชการเมือง เป็น ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนแปลงและกำหนดชื่อจังหวัดและอำเภอใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ดังนั้นอำเภออำนาจเจริญ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบุ่ง และเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของพื้นที่ตั้งตามคำแนะนำของ พระยาสุนทรพิพิธ เลขามณฑลอีสาน เพราะว่า บุ่ง แปลว่า บริเวณที่มีน้ำ หรือ บึง และรองอำมาตย์โทหลวงอเนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฎ) เป็นนายอำเภอคนแรก และในปีเดียวกัน อำเภอพนานิคม เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอขุหลุ
พ.ศ. ๒๔๘๒ อำเภอบุ่ง เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภออำนาจเจริญ เพื่อให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของอำเภอในอนาคต จึงได้ย้ายอำเภอบุ่ง จากบริเวณวัดอำนาจเจริญ มาตั้งอยู่ในบริเวณสระหนองเม็ก เพราะว่าที่ตั้งแห่งใหม่ มีพื้นที่เหมาะต่อการขยายพื้นที่ในอนาคตและกลับไปใช้ชื่ออำเภออำนาจเจริญ ตามเดิม พ.ศ. ๒๕๒๒ เสนอพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญเป็นครั้งที่ ๒ ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญและพระราชบัญญัติตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญ เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่งสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการแล้วให้ตั้งศาลจังหวัดอำนาจเจริญก่อน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ นับเป็นขั้นแรกจะเป็นจังหวัดอำนาจเจริญต่อไป
วันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ มีพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือเนื่องจากจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน มีอาณาเขตกว้างขวางและมีพลเมืองมาก ดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ แยกอำเภออำนาจเจริญ อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอเสนางคนิคม อำเภอหัวตะพาน และกิ่งอำเภอลืออำนาจ ออกจากการปกครองของจังหวัดอุบลราชธานี รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ
ประกาศในหนังสือราชกิจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า ๔,๕,๖ เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๑๒๕ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดอำนาจเจริญ มีผลบังคับใช้ ดังนั้น อำเภออำนาจเจริญ จึงได้รับการยกฐานะให้เป็นจังหวัดอำนาจเจริญ ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นจังหวัดลำดับที่ ๗๕ ของประเทศไทย (สุจิตต์ วงษ์เทศ , ๒๕๔๙: ๑๐๗-๑๑๐)
ปัจจุบัน จังหวัดอำนาจเจริญ แบ่งเขตการปกครอง เป็น ๗ อำเภอ ๕๖ ตำบล ดังนี้
๑. อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ๑๙ ตำบล
๒. อำเภอหัวตะพาน ๘ ตำบล
๓. อำเภอปทุมราชวงศา ๗ ตำบล
๔. อำเภอพนา ๔ ตำบล
๕. อำเภอชานุมาน ๕ ตำบล
๖. อำเภอเสนางคนิคม ๖ ตำบล
๗. อำเภอลืออำนาจ ๗ ตำบล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น